ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 18.222.39.205 : 18-04-24 7:57:34   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

เกร็ดเกี่ยวกับเคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie)  

 
เกร็ดเกี่ยวกับเคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie)
 

เกร็ดเกี่ยวกับเคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie)

เคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie) หรือที่รู้จักกันในชื่อ hose tie, zip tie หรือ tie-wrap เป็นสลักภัณฑ์ (Fastener) ประเภทหนึ่งซึ่งออกแบบเพื่อรัดสายสัญญาณหรือสายไฟเข้าด้วยกันเพื่อความเป็น ระเบียบ และยังถูกนำไปใช้ในงานหลากหลายประเภท


เคเบิ้ลไทร์แบบต่าง ๆ


โดยทั่วไปแล้ว เคเบิ้ลไทร์แบบไนลอนจะมีส่วนหนึ่งที่มีฟันสามเหลี่ยมลาดไปในทิศทางเดียวกัน โดยส่วนหัวของเคเบิ้ลไทร์จะมีช่องพร้อมกับเขี้ยวที่บังคับให้ฟันสามเหลี่ยม นั้นไม่สามารถถอยกลับได้เมื่อส่วนปลายของเคเบิ้ลไทร์สอดเข้ามา เขี้ยวของเคเบิ้ลไทร์ทำหน้าที่เหมือนกระเดื่องในเฟืองที่บังคับไม่ให้ถอดสาย เคเบิ้ลไทร์ออกมา


ส่วนเขี้ยวของเคเบิ้ลไทร์ที่ล็อคกับร่องสาย


ปืนรัดสายเคเบิ้ลไทร์ใช้ในการดึงเคเบิ้ลไทร์ด้วยความตึงตามต้องการ พร้อมตัดส่วนหางของเคเบิ้ลไทร์ไม่ให้เกิดส่วนคมเพื่อความปลอดภัย

- เคเบิ้ลไทร์สำหรับใช้งานกลางแจ้ง สามารถเพิ่มความทนทานต่อรังสีอัลตราไวโอเลต UV ได้โดยใช้ไนลอนเกรดพิเศษที่เติมผงคาร์บอนดำ (carbon black) อย่างน้อย 2% เพื่อป้องกันการทำปฎิกิริยากับสายโพลีเมอร์ (Polymer Chain) ยืดอายุการใช้งาน
- เคเบิ้ลไทร์สีน้ำเงินนั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเติมสารเติมแต่งประเภทโลหะลงไป ทำให้เคเบิ้ลไทร์สามารถถูกตรวจจับได้โดยเครื่องตรวจจับโลหะ
- เคเบิ้ลไทร์ที่ผลิตจาก ETFE (Ethylene tetrafluoroethylene) หรือ Tefzel ใช้ในงานที่มีอุณหภูมิสูงถึง 150°C เช่น ในมอเตอร์ไฟฟ้า
- เคเบิ้ลไทร์สเตนเลสใช้ในงานที่ทนต่อเปลวเพลิง และยังมีแบบเคลือบที่ป้องกันการกัดกร่อนจากโลหะอื่น เช่น รางสายที่ชุบสังกะสี

เคเบิ้ลไทร์ประดิษฐ์โดย Thomas & Betts บริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ในปี ค.ศ.1958 โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Ty-Rap โดยเริ่มแรกนั้นออกแบบสำหรับใช้งาน wire harness บนเครื่องบิน โดยผลิตจากฟันโลหะ ซึ่งก็ยังคงมีเคเบิ้ลไทร์ลักษณะนี้ในปัจจุบัน ต่อมา Thomas & Betts และผู้ผลิตรายอื่น เช่น Panduit และ Hellemann ได้เปลี่ยนมาใช้ฟันแบบไนลอนแทน

ผู้ค้นคิด Ty-Rap ให้กับ Thomas & Betts คือ Maurs C.Logan ผู้ซึ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์มากมายให้กับบริษัท โดยความคิดทีเริ่มผลิตเคเบิ้ลไทร์นั้นเกิดขึ้นระหว่างที่ Logan เยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องบิน Boeing ในปี ค.ศ.1956 การเดินสายในเครื่องบินเป็นงานที่ยุ่งยาก มีรายละเอียดมากมาย ใช้สายความยาวหลายพันเมตรบนแผ่นไม้อัดซึ่งยึดด้วยสลัก, เคลือบไข, และสายไนลอน ซึ่งคนงานที่ดึงสลักโดยรัดสายเข้ากับนิ้วมือนั้นจะโดนสายไนลอนบาดเป็นประจำ Logan จึงได้เริ่มค้นคิดอุปกรณ์ที่มาช่วยงานนี้ จนในที่สุดก็สำเร็จและได้จดสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.1958

เคเบิ้ลไทร์นั้นโดยทั่วไปจะใช้งานเพื่อรัดเพียงครั้งเดียว จากนั้นจะถูกตัดทิ้งมากกว่าจะที่ปลดล็อคและนำกลับมาใช้ใหม่ อย่างไรก็ตาม หากต้องการปลดล็อคเคเบิ้ลไทร์ก็มีวิธีที่ไม่ต้องตัดเคเบิ้ลไทร์ โดยปลดเขี้ยวกระเดื่องจากสายด้วยเหล็กแหลม เข็มเย็บผ้า หรือไขควงเบอร์เล็ก ๆ แหย่เข้าไปกดตัวเขี้ยวแล้วดึงสายเคเบิ้ลไทร์ออกมา เคเบิ้ลไทร์แบบปลดล็อคได้นั้นจะมีส่วนให้กับเพื่อปลดเขี้ยว


อ้างอิง: Wikipedia http://en.wikipedia.org/wiki/Cable_tie
http://www.thaicoatedwire.com/เคเบิ้ลไทร์_ความรู้.htm
   
   
 


โดย : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยหุ้มลวด เยี่ยมชมเว็บไซต์ของผู้เขียน
เยี่ยมชมเว็บไซต์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยหุ้มลวด

60/40-41 ซอยเพชรเกษม 75 แขวงหนองค้างพลู

เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.