ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 54.224.124.217 : 28-03-24 16:09:33   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
Siam-Shop.com
    หมวดสินค้าของเรา            
  
Untitled Document
 
โน๊ตเพลง
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โต๊ะ เก้าอี้
โชว์ การแสดง
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องประดับ
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อื่นๆ
อื่นๆ
อื่นๆ
อินเตอร์เนต
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
สัตว์เลี้ยง
รถยนต์ ประดับยนต์
รถ รถตู้ให้เช่า
ประกันภัย&ประกันชีวิต
บ้าน
ท่องเที่ยว
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ตุ๊กตา&ของเล่น
จักรยาน&จักรยานยนต์
คอมพิวเตอร์
ความงามและสุขภาพ
ก่อสร้าง
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
กระเป๋า
Notebook

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด


  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   
กระดานถามตอบของร้าน ร้าน Siam-Shop.com หน้าแรกของร้าน
 

2363 : โรคสมองเสื่อม (Dementia)  
 
โรคสมองเสื่อม (Dementia)

โรคสมองเสื่อม คืออะไร
โรคสมองเสื่อม (dementia) เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อม ๆ กัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ พฤติกรรม และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน

โรคสมองเสื่อมกับผู้สูงอายุ
อุบัติการณ์และความชุกของโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นตามอายุ มีหลายการศึกษาในประเทศไทยพบว่า ความชุกของการเกิดสมองเสื่อมในประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป พบได้ประมาณร้อยละ 1.8 ถึง 10.2 และพบว่าแนวโน้มการเกิดภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด

โดยทั่วไปพบว่าผู้สูงอายุมักมีความจำระยะสั้นด้อยลง ในอดีตยังดีอยู่ ในขณะที่อาการหลงลืมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ดังนั้นอาจทำให้เกิดความกังวลว่าอาการหลงลืมดังกล่าว จะเป็นการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมหรือไม่ โดยปกติแล้วความจำมักจะเสื่อมถอยไปตามวัย แต่ในขณะเดียวกันอาจเป็นอาการที่แสดงออกมา ต่อเนื่องจากความผิดปกติอย่างอื่นได้ ดังนั้น การตรวจหาสาเหตุหลักที่ทำให้สมองและความจำเสื่อมจึงมีความสำคัญมาก

ประเภทของสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อมอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางโรครักษาได้ บางโรครักษาไม่ได้ แต่ถ้าตรวจพบได้เร็วจะสามารถชะลออัตราการเสื่อมของสมองได้ สมองเสื่อมเกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมอง (Degenerative dementia) เกิดจากการเสื่อมของระบบประสาทที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งมีหลายโรคตัวอย่างเช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคลิววี่บอร์ดี้(Lewybody disease) เป็นโรคที่มีอาการร่วมกันระหว่างอัลไซเมอร์กับพาร์กินสัน เป็นต้น

สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดในสมอง (Vascular dementia) พบได้บ่อยเป็นอันดับที่สอง สามารถรักษาให้ดีขึ้นและป้องกันได้ อาการสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นหลังจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้สมองส่วนนั้นเสื่อมหน้าที่

สาเหตุหลักของโรคนี้ คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และการสูบบุหรี่
สมองเสื่อมที่สามารถรักษาให้หายได้

ได้แก่ โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากเนื้องอกในสมอง โรคของต่อมไทรอยด์ โรคติดเชื้อในสมองบางชนิด การขาดสารอาหารโดยเฉพาะวิตามินบี อุบัติเหตุที่ศีรษะ หรือการได้รับยาบางอย่าง เช่น การใช้ยากล่อมประสาทเป็นประจำ เป็นต้น

อาการที่สำคัญของโรคสมองเสื่อม
ผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะแรกอาจมีอาการไม่มากนัก โดยเฉพาะอาการหลงลืม และยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่จะทรุดหนักเมื่อเวลาผ่านไป อาการดำเนินแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาด้านพฤติกรรม และอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ ตามมา ซึ่งอาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี ดังนี้

ความจำเสื่อม โดยเฉพาะความจำระยะสั้น หรือมีความบกพร่องในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันมากเกินวัย เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุใกล้เคียงกัน เช่น การวางของแล้วลืม จำนัดหมายที่สำคัญไม่ได้ ลืมไปแล้วว่าเมื่อสักครู่พูดอะไร ใครมาพบบ้างในวันนี้ และหากมีความรุนแรงมากขึ้นความจำในอดีตก็จะเสื่อมด้วย

ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้ เช่น ลืมไปว่าจะปรุงอาหารชนิดนี้ได้อย่างไร ทั้งที่เคยทำ

มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ เรียกชื่อคนหรือสิ่งของเพี้ยนไป ลำบากในการหาคำพูดที่ถูกต้อง ทำให้ผู้อื่นฟังไม่เข้าใจ

มีปัญหาในการลำดับทิศทางและเวลา ทำให้เกิดการหลงทาง หรือกลับบ้านตัวเองไม่ถูก

สติปัญญาด้อยลง การคิดเรื่องยาก ๆ หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อยได้ มีการตัดสินใจผิดพลาด

วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอาเตารีดไปวางในตู้เย็น เอานาฬิกาข้อมือใส่เหยือกน้ำ เป็นต้น

อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เช่น เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวก็สงบนิ่ง

บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึมเศร้าหรืออาจจะมีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก ๆ อาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แม้แต่การอาบน้ำ เข้าห้องน้ำ จึงต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา

หากแบ่งระดับความรุนแรงของโรคตามอาการ สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
1.ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง (Mild) เป็นระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น ลืมว่าวางของไว้ไหน จำชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ ส่วนความจำในอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคมอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ และการตัดสินใจยังค่อนข้างดี

2.ระดับปานกลาง (Moderate) ในระยะนี้ความจำจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น ไม่สามารถคำนวณตัวเลขง่าย ๆ ได้ เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ ทำอาหารที่เคยทำไม่ได้ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยทำได้มาก่อน ลืมแม้กระทั่งชื่อคนในครอบครัว ในช่วงท้ายของระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายจำ เป็นต้องอาศัยผู้ดูแลตามสมควร

3.ระดับรุนแรง (Severe) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย แม้แต่การทำกิจวัตรประจำวัน ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา แม้แต่ความจำก็ไม่สามารถจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้เลย จำญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเองก็จำไม่ได้มีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า หรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้ แม้แต่สุขอนามัยของตนเองก็ดูแลไม่ได้ เช่น กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

ระยะเวลาการดำเนินของโรคอาจแตกต่างกันในแต่ละคน โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการ (ระดับอ่อน) จนเสียชีวิต (ระดับรุนแรง) โดยเฉลี่ยจะประมาณ 8-10 ปี

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่ามีความผิดปกติในเนื้อสมอง ซึ่งจะพบลักษณะที่สำคัญ 2 ประการคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (neurofibrillary tangles) และมีสาร beta amyloid ในสมอง
ใยประสาทที่พันกัน ทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมองและการที่สมองมีคราบ Beta amyloid หุ้ม ทำให้ระดับสารสื่อประสาท acetylcholine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเรียนรู้และความจำในสมองลดลง

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การมีประวัติเคยได้รับบาดเจ็บทางสมอง การตรวจพบยืนอะโปไลโปโปรตีน อี4 (Apolipoprotein E4) พันธุกรรมเพศหญิง การสูบบุหรี่ และโรคหลอดเลือดสมอง

การวินิจฉัยโรค
เมื่อมีอาการน่าสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการทดสอบภาวะของความจำ หากผลตรวจน่าสงสัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจร่างกายและเลือดทั่วไปเพื่อคัดแยกโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกสมองที่มีผลต่อความจำหรือทำให้สมองเสื่อม เมื่อแยกโรคทั่วไปออกแล้ว แพทย์ก็จะทำการตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งจะต้องแยกโรคติดเชื้อเนื่องอก โพรงน้ำไขสันหลังขยายตัวเส้นเลือดตีบออกไปจากภาวะสมองเสื่อมหรือฝ่อ การถ่ายภาพสมองโดยเครื่อง CT MRI หรือ PET Scan ก็จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง

แนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อม
รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด

ระวังการใช้สารที่อาจเกิดอันตรายต่อสมอง เช่น การดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น

ระวังปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่

การฝึกสมอง พยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ เช่น อ่านหนังสือ วาดรูป คิดเลข เล่นเกมตอบปัญหา การดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำซากจำเจ เช่น ลองเปลี่ยนเส้นทางเดินทางที่เคยใช้ประจำ ลองใช้ประสาทสัมผัสอื่นที่ไม่ค่อยได้ใช้ เช่น ฝึกเขียนหนังสือ หรือแปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด
ถือเป็นการออกกำลังสมองอย่างหนึ่ง

ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

ตรวจสุขภาพประจำปี

ระมัดระวังอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ

หลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเดินทางไปพักผ่อน การฝึกสมาธิ เป็นต้น

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2010-03-08 21:19:44 124.121.171.**
stat : 291 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.