ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 3.144.189.177 : 19-04-24 5:01:50   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

พ่อของแผ่นดิน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ  

 
พ่อของแผ่นดิน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
 

ครองใจคน

"...ผมเคยอยู่มาแล้วหลายแผ่นดิน แต่ก็ไม่เคยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินใดที่คนทั้ง
เมืองเขาเป็นเจ้าของให้ความเคารพบูชาอย่างสนิทสนมอย่างทุกวันนี้...
...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อนๆ ทรงครองแผ่นดิน
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลนี้ทรงครองหัวใจคน..."
 

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์    ปราโมช

พระเจ้าอยู่หัวยังอยู่ 

นับเป็นห้วงเวลาที่ยากจะทำใจ เมื่อคนไทยต้องสูญเสียพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8
ผู้ทรงงามทั้งพระสิริโฉม งามทั้งพระราชจริยวัตร
และยังทรงเป็น "ความหวัง" อันสดใส ด้วยทรงริเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจ
อย่าง "พระเจ้าแผ่นดินยุคใหม่" เสด็จฯ เยี่ยมเยือนพสกนิกรอย่างใกล้ชิด
โดยมีพระอนุชาธิราช ทรงร่วมปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างเข้มแข็ง
เมื่อมาเสด็จสู่สวรรคาลัยรวดเร็วเช่นนี้ ความหวังอันเรืองรองที่ฉายโซนอยู่ในใจคนไทยดูคล้ายจะดับวูบไปชั่วขณะ
และนี่คือพระราชดำรัสปลุกปลอบ ที่กลายเป็นเปลวเทียนจุดสว่าง
กลางความมืดมนในใจราษฏร
"พระเจ้าอยู่หัวยังอยู่ พระอนุชาต่างหากที่ไม่มีแล้ว"

ปิรามิด

พระราชภาระในฐานะพระมหากษัตริย์ไทยนั้นหนักอึ้งเพียงใด
เราอาจตระหนักได้จากพระราชกระแสที่พระราชทานแก่ผู้สื่อข่าวนิตยสาร "เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก"
"...เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนปิรามิด มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอด และมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้วดูเหมือนทุกอย่างจะตรงกันข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องปวดคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอ
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้แทนนิตยสาร
"เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก" เมื่อ พ.ศ.2525

ราษฎรยังอยู่ได้

พุทธศักราช 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวัมีพระราชประสงค์ ที่จะเสด็จพระราชดำเนิน ไปเยี่ยมราษฎร
ในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุด
ในภาคใต้เวลานั้น ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้
สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ
"ราษฏรเขาเสี่ยงภัยกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาด
แม้แ่ต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ

"ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง "พระบิดาประชาชน" โดยนายพิศาล มูลศาสตรสาทร
วัีนที่ 30 พฤษภาคม 2530 ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์

สุขไม่ได้

อีกหนึ่งกระแสพระราชดำรัสที่เป็น "คำตอบ" ว่าเหตุใดจึงไม่อาจหยุดทรงงานได้
"...คนเราจะอยู่สุขสบายแต่คนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก
ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้าง ตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้..."
 

ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง "พระบิดาประชาชน" โดยนายพิศาล มูลศาสตรสาทร
วันที่ 30 พฤษภาคม 2530 ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์

เก็บร่ม

การเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฏรก็ไม่
เคยย่อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จใหุ้ถึงที่สุดแม้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลัีบบ้าน
ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ "พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง" ตีพิมพ์
ในหนัีงสือ "72 พรรษาบรมราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์" ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่
เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถว
รอรับเสด็จต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่อย่างนั้่น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองครักษ์ที่ตามเสด็จได้เข้ากางร่มถวาย
ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎรที่มายืน ตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่ต่างก็เปียกฝนโดยทั่วกัน
"...จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชองครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จ
โดยทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอรับเสด็จในขณะนั้น
 

ข้อมูลจากหนังสือ "72 พรรษาบรมราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์"
จัดพิมพ์โดย สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิ่งที่ทรงหวัง

ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฏรในภาาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่งได้ขอพระราชทานสัมภาษณ์
และได้กราบบังคมทูลถามว่า การที่เสด็จฯเยี่ยมราษฏรและมีโครงการตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น
ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งตอบว่า มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่
แต่ทรงสนพระทัยว่าประชาชนของพระองค์จะหิวน้อยหรือไม่
 

ข้อมูลจาก "พระเจ้าอยู่หัว" จัีดพิมพ์โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2530

ทั้งหมดที่มี

แม้ราษฏรอีสานจะไม่ร่ำรวยเงิืนทอง แต่เรื่องของ "น้ำใจ" นั้นไ่ม่ีขีดจำกัีด ของถวายครั้งนั้นจึงมีความหลากหลาย
เป็นที่สุดตามแต่ฐานะของผู้นั้น นับตั้งแต่ ผ้าไหม กล้วยไม้ นกยูง กระจง นกเขาแก้ว ไก่ป่า และลิืงเผือก
นางเจียม แสงเสนาะ จ.หนองคาย รู้ข่าวเสด็จฯ ก็เตรียมทำ "ของดีที่หนึ่ง" ล่วงหน้าไว้ถึง 3วัน
โดยนำปลาช่อนตัวใหญ่ สามตัวมาทำปลาเค็ม แต่ละตัวทำได้ 6 ริ้ว ตั้งใจทำอย่างดีที่สุด แล้วนำปลาเค็มใส่ถุงห่อกระดาษถวายด้วยใจภักดิ์
ส่วนคุณยายละมุน มาลาเพชร เจ้าของร้านธรรมขันต์โอสถ จ.อุดรธานี นำยากำลังเลือดช้างเลือดม้า
ยาบำรุง และยาถ่ายทองทิพย์ ใส่กระติ๊บมาถวายที่นครพนม มีผู้นำคาถาคงกระพันยิงฟันไม่เข้าใส่ซองถวาย
คุณตาแก่ๆ คนหนึ่งเก็บดอกบานชื่นมาถวาย      ขณะที่คุณยายอีกคนหนึ่ง ถวายกล้วยน้ำว้าครึ่งหวีราวหกผล
ซึ่งงอมมากจนเป็นสีำดำ ไม่ว่าราษฏรที่ยากไร้จะถวายของตามมีตามเกิดแต่อย่างใด ก็ทรงรับ "น้ำใจ"
นั้นไว้หมดด้วยทรงรู้ว่าแม้ของนั้นอาจไม่มีราคา แต่คุณค่านั้นประเมินไม่ได้  เพราะมันเลือกทั้งหมดที่เขามี

 
ข้อมูลจากหนังสือ"รอยเสด็จ " จัีดพิมพ์โดย มหาิวิทยาลัยขอนแก่น พุทธศักราช 2540

ดอกบัวจากหัวใจ

 ...ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร-เรณูนคร     บ่ายวัีนที่ 13 พฤศจิกายน 2498  อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่
กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศวันนั้นหลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล  ณ
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ

โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฏรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูกจูงหลานหอบกันมารับ
เสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแ่น่นดังเช่นครอบครัวจันทนิตย์ ที่ลูกหลานช่วยกันนำ แ่ม่เฒ่าตุ้ม จัีนทนิตย์ วัย 102 ปี (ปีเกิดคือ2396)
ไปรอรัีบเสด็จ ณ จุดรับเสด็จ   ห่างจากบ้่าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก
และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิด   เบื้องพระยุคคลบาทที่สุดเปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย
แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า
แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดีอย่าวสุดซึ้ง
พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักต์แนบชิดกับศรีษะของแม่เฒ่าทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู
พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชาวอีสานอย่างอ่อนโยน  เป็นคำบรรยายที่เหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย
ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแ่ม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแ่ม่เฒ่าไม่มีวันลืม  เช่นเดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฏรคนสำคัญที่ทรงพ
บริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลัีบกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวัง
ได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม   พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานผ่านมาทางอำเภอพระธาตุพนมให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก   พระมหากรุณาธิคุณอัีนหาที่สุดไม่ได้นี้
อาจมีส่วนชุบชูให้ชีวิตแม่เฒ่ายืนยาวขี้่นอีกด้วย ความสุขต่อมาอีกถึงสามปีเต็มๆ
แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฏรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี
 

ข้อมูลจาก "แม่เฒ่าตุ้ม จัีนทนิตย ์ภาคพิเศษ "โดยคุณหญิงทวีนาค สุริยะ
วารสารไทย ปีทีี่ 21 ฉบับที่ 74 เมษายน- มิถุนายน 2549

ทรงเป็นแบบอย่าง

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคล
ที่มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย
วันที่ 11 สิงหาคม 2534 เกี่ยวกับการตามเสด็จในตอนต้นรัชกาล ซึ่งครั้งนั้นยังทรงเยาว์
พระชันษาว่า ทรงยังไม่แน่พระทัยว่าจะวางพระองค์อย่างไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรง
ปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง ดังเช่น
"...เวลามีพระราชปฏิสันถารกับราษฏร ซึ่งเป็นชั่วโมงๆ ทีเดียว ทรงคุยกับราษฏรนี่ไม่โปรดทรงยืน
ทรงถือขนบธรรมเนียมไทยที่จะไม่ยืนค้ำผู้เฒ่าผู้แก่ จะประทับลงรับสั่งกับราษฏรเสมอมา
แม้จะเป็นตอนเที่ยงแดดร้อนเปรี้ยงก็ตาม ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นพระราชจริยวัตรนี้มาตั้งแต่ตอน
ต้นรัชกาลแล้ว..."

เขาเดินมาเป็นวันๆ

"...มีอยู่ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าอายุสิบแปดได้ตามเสด็จ...ตอนนั้นเป็นช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เสด็จฯ เยี่ยมราษฏรทุกจังหวัดและอำเภอใหญ่ๆ ก็เสด็จฯประมาณ 9 โมงเช้า เสด็จออกทรงเยี่ยมราษฏรมาเรื่อยๆ
ทีนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกว่า แหม นานเหลือเกิน ตอนนั้นยังไม่กางร่ม ตอนนั้นยังไม่ค่อยกลัวแดด ไม่ใส่หมวก ก็รู้สึก
แดดร้อนเปรี้ยง หนังเท้านี่รู้สึกไหม้เชียว
...ก็เดินเข้าไปกระซิบกับท่านว่าพอหรือยัง ก็โดนกริ้ว
...บอกนี่เห็นไหมราษฏรเขาเดินมาเป็นวันๆ เพื่อมาดูเราแม้แต่นิดเดียว แต่นี่เรายืนอยู่ไม่เท่าไรล่ะ
ตอนนี้ทนไม่ไหวเสียแล้ว..."
 

พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 11สิงหาคม พ.ศ.2534

กำเนิดฝนหลวง

เมื่อทรงสัมผัสความทุกข์ซับซ้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากเรื่องของ "น้ำ" อันเป็น
ปัจจัยสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้บัดนั้นมีพระชนมพรรษาเพียง
28 พรรษา และเพิ่งเสด็จพระราชดำเนินอีสานครั้งแรกในพระชนมชีพ ก็ทรงเฝ้าครุ่นคิดถึง
แต่วิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้ชาวอีสาน
ปัญหาที่ขัดแย้งกันเอง เมื่อมีน้ำ น้ำก็มากไป ท่วมป่าจากภูเขาไม่มีสิ่งใดหยุดยั้งไว้ได้
แต่เมื่อน้ำหมดก็แห้งแล้งอย่างที่สุด เพราะไม่มีฝนตกลงมา
ทรงบันทึกไว้ว่า "ต้องสร้างเขื่อนเล็กๆ (Check dams) จำนวนมาก ตามลำธารที่ไหลลงมาจากภูเขาต่างๆ
จะช่วยให้กระแสน้ำค่อยไหลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเล็กๆ สิ่งนี้จะแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้
ในฤดูฝนน้ำจะถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำและจัดสรรน้ำให้ในฤดูแล้ง"
ส่วนปัญหาเรื่องฝนแล้งนั้น "ข้าพเจ้าได้แหงนดูห้องพัก และพบว่ามีเมฆจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป
วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาในท้องถิ่นนั้น
ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฝนเทียม
 

ฝนหยาดแรก

อีก 17 ปีต่อมา "ฝนเทียม" ตามพระราชดำริในวันเสด็จฯ เยี่ยมอีสาน
ก็กลายเป็น "ฝนหลวง" ที่หยาดลงมาสร้างความชุ่มฉ่ำทั้งแผ่นดินครั้งแรก
ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2515วันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงวางแผนสาธิตการทำฝนด้วยพระองค์เอง จนเกิด "ฝนหลวง"
ตกลงมาเป็นผลสำเร็จ และตกลงสู่เป้าหมายอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน
จ.เพชรบุรี อย่างแม่นยำล่วงจนถึงปี 2548 ปีที่ 59 แห่งรัชกาล ประเทศไทยก็ยังเผชิญภัยแล้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเจริญพระชนมายุ 78 พรรษาก็ยังทรง"คุมงาน"เพื่อทรงบัญชาการเครื่องบิน
ทำฝนเทียมทั่วประเทศด้วยพระองค์เองทรงต่อสู้ทุกวิถีทาง
เพื่อให้ราษฏรได้มี "น้ำ"เพราะ "การมีน้ำ " นั้นหมายความถึง"การมีชีวิต"
 

ต่อไปจะมีน้ำ

บทความ "น้ำทิพย์ลาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา" เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่5 ธันวาคม 2528 ได้เ่ล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์
ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ "ในหลวง" กับ "น้ำ" ที่เกิดขึ้นในค่ำวันหนึ่งของเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2528
ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนหนึ่งที่มาเฝ้าฯรับเสด็จ
ได้คลานเ้ข้ามากอดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม
ขอพระราชทานน้ำ    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า
"ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้"
แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอดห่างออกไปราว 5 เมตร
ปรากฏว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรก
ในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฏรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตามๆกัน

แต่ละปีที่เสด็จ

ด้วยเหตุผลนี้เอง ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯทรงรับฟังความทุกข์ราษฎร
จากปากคำของราษฏร ยังบ้านของราษฎรเอง และทรงงานเพื่อราษฎรโดยไ่ม่มีวันหยุดมาแล้ว
เป็นเวลาหกสิบปีครั้งหนึ่งสำนักราชเลขาธิการได้เคยบันทึกไว้ว่าในแต่ละปีเสด็จฯ ออกปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
ราว 500-600 ครั้งรวมเป็นระยะทางประมาณ 25,000 ถึง 30,000 กิโลเมตร
 

ข้อมูลจาก "พระธรรมิกราชของชาวไทย " จัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร พ.ศ.2530

จดหมายทุกฉบับ

"...จดหมายประชาชนส่งถึงในหลวงถึงมือท่านทุกฉบับหรือไม่?
รองราชเลขาธิการกล่าวว่า  ส่วนใหญ่ถึงมือทุกฉบับ แต่ถ้าไม่เหมาะสมก็ไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ
ขอยืนยันเรื่องนี้ คุณแม่เขียนจดหมายถึงท่านมา 10 ปีแล้วค่ะ  ปีที่แล้วมีจดหมายจาก
สำนักพระราชวังส่งมาให้ใจความว่า...จดหมายที่แม่เขียนถึงในหลวง ท่านทรงอ่านทุกฉบับคุ่ะ
แม่ร้องให้ตื้นตันใจมากๆ เลย...

คนไทยคนหนึ่ง

 เยลลี่สี่กล่อง

วันที่  28  ธันวาคม  2544  ขณะที่นักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เพชรบุรี ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มี
ฐานะยากจน ด้อยโอกาสทางการศึกษาและมีปัญหาชีวิตครอบครัว กำลังฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กันอยู่นั้น
ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังนำขนมเยลลี่จำนวน 4 กล่องมามอบให้ผู้อำนวยการ
โรงเรียน โดยผู้นำมาให้แจ้งว่า
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเยลลี่ให้กับเด็กนักเรียนได้ประทานเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่"
ยังความปลาบปลื้มอย่างทีีสุดให้กับครูและนักเรียนตัวน้อยๆของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
เพชรบุรีอย่างหาที่สุดมิได้  ซึีงจนถึงวันนี้ก็คงจะยังไม่มีลืมรสชาติของ "เยลลี่พระราชทาน"ที่หวานอร่อยด้วย
พระเมตตาในวันนั้นเลย

ข้อมูลจาก มติชน ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2544

เชียร์ร่วมคุณทองแดง

อีกสี่ปีต่อม่  วันที่ 9 กันยายน 2547  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้คณะนักกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 28  ทั้ง 8 คนรวมทั้งญาติพี่น้องเข้าเฝ้าฯ อย่างใกล้ชิด ณ พระราชวังไกลกังวล
นายสันติภาพ  เตชะวณิช  ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย  เปิดเผยภายหลังเข้าเฝ้าฯว่า
ในหลวงทรงเล่าพระราชทานว่า
"ทรงส่งกำลังใจเชียร์นักกีฬาไทยโดยตลอด และคุณทองแดงก็อยู่ข้างๆ  
ช่วยกันเชียร์นักกีฬาไทยด้วย"    รับสั่งเล่าว่าพอนักชกแต้มขึ้น
ก็พระราชทานขนมให้คุณทองแดง 1 ชิ้น  คุณทองแดงก็มีแรงเชียร์และรู้สึกตื่นเต้นในขณะเชียร์และรู้สึกเหนื่อยไปด้วย
 

ข้อมูลจาก ข่าวสด ฉบับวันทีี  10  กันยายน  2547  
และ Thai las vegas,Tuesday,September 20, 2004

เสื้อทองแดง

เดือนกุมภาพันธ์ 2545  สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานข่าวออกไปทั่วโลกว่า  ชาวไทยกำลัง
คลั่งไคลแฟชั่นเสื้อสปอร์ตพิมพ์รูปคุณทองแดงสุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่อดีตเคยเป็นลูกสุนัขข้างถนน
เอเอฟพีระบุว่า  ภาพถ่ายและเรื่องราวของคุณทองแดงได้รับการเผยแพร่ออกมาเมื่อปีที่แล้ว
และหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เสื้อรูปคุณทองแดงในวันที่เสด็จออกจาก
โรงพยาบาล  ทำให้เสื้อดังกล่าวกลายเป็นสิ่งที่ชาวไทยปรารถนามากที่สุด
วันที่เสด็จออกจากโรงพยาบาล  ทำให้เสื้อดังกล่าวกลายเป็นสิ่งที่ชาวไทยปรารถนามากที่สุด
เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผลิตเสื้อขายได้  สินค้านี้ก็ขายเป็นเทน้ำเทท่า
เอเอฟพียังระบุว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก
ได้รับการเทิดทูนอย่างสูงสุดจากคนไทยทั้งประเทศ  ในช่วงระยะเวลาที่ทรง
ครองราชย์นี้  ประเทศไทยเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปแล้ว  20  คน  เปลี่ยนรัฐธรรมนูญไปแล้ว
18  ฉบับ  และเกิดรัฐประหารรวมกันไปแล้ว 17 ครั้ง

ข้อมูลจาก  มติชน ฉบับวันที่  9 กุมภาพันธ์  2545  

สลายจลาจล

         พุทธศักราช 2546  เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านขึ้น  
มูลเหตุเกิดจากการตีพิมพ์ข้อเขียนของสื่อมวลชนกัมพูชา  ที่ทำให้ชาวกัมพูชาเข้าใจผิดว่านักแสดงชาวไทยเหยียดหยามชาติกัมพูชา  
สร้างความไม่พอใจรุนแรงจนเกิดการชุมนุมต่อต้านคนไทย  ลุกลามไปจนถึงการเผาทำลายสถานฑูตมาทำลาย
เผาโลงศพและธงชาติกัมพูชาเป็นการตอบโต้เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้คนไทยกลุ่มหนึ่งราย 700  คน  เดินทางมาชุมนุม
กันที่หน้าสถานฑูตกัมพูชาในประเทศไทย  มีการงัดป้ายสถานฑูตมาทำลาย  เผาโลงศพและธงชาติกัมพูชาเป็นการตอบโต้  
        เมื่อความทราบทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสเตือนสติผ่านองคมนตรี
มายัง พล.ต.อ.สันต์  ศรุตานนท์  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  ว่า
        "เวลานี้เราเป็นพระเอก  เป็นผู้ดีอยู่แล้ว  อย่าเผลอทำตัวให้กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาชาวโลก  ขอให้ทุกคนดำรงตนด้วยความมีสติ"
        เมื่อพล.ต.อ.สันต์  สรุตานนท์  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  อัญเชิญพระราชดำรัสดังกล่าวมาบอกกับคนไทยผู้ชุมนุม  
ผู้ชุมนุมต่างได้คิดและเห็นพ้องด้วยกับพระราชดำรัส  ทำให้บรรยากาศที่เร่าร้อนเริ่มผ่อนคลายลงอย่างรวดเร็ว
 ด้วยความปลื้มปิติในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใย  ผู้ชุมนุมร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย
        เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับรายงานว่าผู้ชุมนุมร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีถวาย
       รับสั่งว่า  ขอบใจคนไทยทุกคนที่อยู่ที่นี่  และทรงขอให้เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
เพียงเท่านี้  คนไทยที่มาร่วมชุมนุมกัน  ณ  ที่นั้น  ก็ตัดสินใจสลายตัวและทยอยกันเดินทางกลับบ้านด้วยวความสงบ

ข้อมูลจาก  ผู้จัดการรายวัน  ฉบับวันที่  1 กุมภาพันธ์  2546  
และสรุปข่าวเด่นการเมือง 46 จากเวปไซต์สำนักข่าวไทย

ตื่ืนเต้น

  หลังจากนั้นสำนักงานข่าวต่างประเทศก็พากันรายงานข่าวนี้ด้วยความตื่นเต้นไปทั่วโลกว่า
"บารมีในหลวงสลายจลาจล"
   บีบีซีรายงานว่า  "เป็นครั้งแรกในรอบสิบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกมายุติความขัดแย้งทางการเมืือง"
    ส่วนรอยเตอร์รายงานว่า  "น้อยครั้งที่จะเห็นการยุติความขัดแย้งทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกในขณะนี้

 24  ชั่วโมง

"...เพื่อนฝรั่งผมเคยถามว่า  ทำไมคนไทยถึงได้รักในหลวงมาก  ผมเอาภาพถ่ายต่างๆให้เขาดู  
แล้วบอกว่า  King ของเราทรงทำงานเหนื่อยเพื่อคนไทยทั้งชีวิต  อะไรที่ทำเพื่อประชาชนคนไทย
พระองค์ท่านทรงทำหมด  ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ  พระองค์ไปถึงหมด
 แล้วผมก็เอาภาพพระราชวังให้ดู  แล้วบอกเขาว่า เห็นไหม  พระราชวังที่ท่านอยู่ไม่เหมือนที่อื่นเลย
พระองค์อยู่เช่นสามัญชน  ทรงทำงานตลอด 24 ชั่วโมง..."

เวปบอร์ด pantip.com  จากคุณ : บุหงาตันหยง  6 ม.ค.47

เสียหมดทุกอย่าง

"...การพัฒนาชนบทเป็นงานสำคัญ  เป็นงานยาก  เป็นงานที่จะต้องทำให้ได้ด้วยความสามารถ  ด้วยความเฉลียวฉลาด
คือต้องเฉลียว  และฉลาด  ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ  มิใช่มุ่งที่จะหากินด้วยวิธีการใดๆ
     ใครอยากจะหากินขอให้ลาออกตำแหน่งไปทำการค้าดีกว่า  เพราะถ้าทำผิดพลาดไปแล้ว
บ้านเมืองจะล่มจม  และเมื่อบ้านเมืองเราล่มจมแล้วเราอยู่ไม่ได้ ก็เท่ากับเสียหมดทุกอ่ย่าง..."

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจัาอยู่หัว  พุทธศักราช  2512
ตัดจากหนังสือ"โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง  :ความเขียวของอีสานเขียว"

ตายไปก็ไม่เสียดาย

"...มีคนที่นราธิวาสคนหนึ่ง  ชื่อนายอ้วน  แกเป็นกำนันเ่ก่า  เป็นคนดีอยู่ในศีลในธรรมเรียบร้อยมาก
แล้วก็ขยันทำมาหากิน  มีสวนเงาะสวนยาง  ไม่รู้เรื่องอะไร  ในหลวงเสด็จไปสวนตาคนนี้  ได้ไปนั่งคุยกันใต้ต้นเงาะใหญ่
เป็นเวลาตั้งชั่วโมง  แกเขียนจดหมายมาเล่าปลื้มใจ  ทนไม่ได้ต้องเขียนมาเล่าให้อาตมรฟัง
      บอกว่าเจ้าคุณเอ๋ยตั้งแต่เกิดมาเป็นนายอ้วน  ไม่มีตอนไหนที่จะดีใจเท่าตอนนี้  ดีใจที่ในหลวงเข้าไปในสวน
แล้วไปนั่งไต่ถามความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่น
แกบอกว่าถึงแม้จะตายไปก็ไม่เสียดายแล้วชาตินี้  เพราะว่าได้สนทนากับหลวงแล้วปลื้มใจนักหนา

คัดจากปาฐกถาธรรมเรื่อง "พระจริยวัตรของในหลวง"
 โดย พระเทพวิสุทธิเมธี(ปัญญานันทภิกขุ)  4 ธันวาคม 2
520

 โปรดที่สุด

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช  เคยกล่าวไว้ว่า
"เท่าที่ผมทราบมา  ไม่มีอะไรที่จะทำให้ทั้งสองพระองค์สำราญพระราชหฤทัยเกินไปกว่า
การที่ได้ทรงพบประชาราษฎรของพระองค์  แม้จะใกล้หรือไกลก็ตามที  ตามที่เคยมีคำพังเพยแต่ก่อนว่า  
รัชกาลที่ 1 โปรดทหาร  รัชกาลที่ 2 โปรดกวีและศิลปิน  รัชกาลที่3 โปรด ช่างก่อสร้าง(วัด)
   ผมกล้าต่อให้ได้ว่า   รัชกาลที่ 9  โปรดราษฎร  และคนที่เข้าเฝ้าฯ  ได้ใกล้ชิดที่สุดคือราษฎร
มิใช่ใครอื่นที่ไหนเลย"

คัดจาก "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชกับการศึกาไทย"
จัดพิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตร

 ภาษาใจ

ข้าราชบริพารที่เคยตามเสด็จเผยว่า  การที่ต้องเสด็จฯเข้าใจจนถึงที่อยู่ของราษฎรนั้น
 เพราะทรงทราบดีว่าราษฎรที่ยากจนนั้น  จนแม้การเดินทางออกมาร้องทุกข์ก็ยังยาก
ท่านผู้หญิงเกนหลง  สนิทวงศ์  ณ  อยุธยา  บันทึกไว้หนังสือ  "ทำเป็นธรรม"  ว่าทั้งสองพระองค์เสด็จฯ
 ขึ้นไปเยี่ยมราษฎรจนถึงที่อาศัยของเขา  แม้ว่าบางบ้านจะโย้เย้หรือทางบ้านต้องทรงพระดำเนินลอดใต้บ้าน  
บางคราวเสด็จขึ้นบันไดทำด้วยไม้กระบอก  ก็จะทรงย่องด้วยฝีพระบาทอันแผ่วเบา  
ทอดพระเนตรจนถึงก้นครัว  ทำให้ทรงสัมผัสความขมขื่นแร้นแค้นนั้นได้อย่างลึกซึ้ง
"...บางครอบครัวมีความทุกข์ถึงขนาดบนดวงหน้าปราศจากความรับรู้เย็นร้อนอ่อนแข็งใดๆทั้งสิ้น
 ทั้งสองพระองค์จะทรงเข้าพระทัยเป็นอย่างดีด้วยภาษาใจ..."

ข้อมูลจาก "ทำเป็นธรรม" โดยท่านผู้หญิงเกนหลง  สนิทวงศ์  ณ อยุธยา

 ขนลุก

ความยากลำบากในการเดินทางเพราะขาดแคลนถนนหนทาง  ทำให้พสกนิกรผู้ยากไร้บนแผ่นดินไทย
ในยุคต้นรัชกาลนั้นขาดโอกาสในทุกๆ ด้าน  จนแม้แต่จะเดินทางไปรับการรักษาความเจ็บป่วยก็ยังยาก  เพื่อบรรเทาความเดือด
ร้อนของประชาชนที่ไม่อาจเดินทางมายังโรงพยาบาล  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงส่งโรงพยาบาลเดินทางไปหาประชาชน
โรงพยาบาลลอยน้ำลำแรกและลำเดียวในโลก  อุบัติขึ้นในกรุงเทพฯ  จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  
โดยมีชื่อพระราชทานว่า "เวชพาห์น"ลักษณะของเรือนพยาบาลลำนี้  เป็นเรือไม้ 2 ชั้น  ประกอบห้องตรวจรักษา  
ห้องทันตกรรมห้องผ่าตัดเล็ก  ห้องนอน  ห้องน้ำ  ห้องครัว  และห้องเครื่องยนต์  เคลื่อนออกจากท่าวาสุกรี  
เพื่อให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนครั้งแรกในวันที่ 19  มกราคม 2498  และจนบัดนี้เป็นเวลาห้าสิบปีแล้วก็ยังปฏิบัติหน้าที่
อยู่อย่างเข้มแข็งไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย     เขียว    มาเรียม  วัย 65 ปี  ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาจากเรือเวชพาห์น
ในการปฏิบัติงานครั้งที่ 131  เมื่อเดือนพฤศจิกายน  2546  ที่จังหวัดอ่างทอง  เผยกับผู้สื่อข่าวว่า
"ฉันได้ยินโฆษกประกาศว่า  ในหลวงทรงให้เรือเวชพาห์นพร้อมหมอและพยาบาลเดินทางมารักษาให้ถึงหมู่บ้านแล้ว
 รู้สึกขนลุก  ซาบซึ้งในบุญคุณท่านมาก  ขอให้ท่านอายุมั่นขวัญยืนอยู่เป็นมิ่งขวัญของประเทศไทยตลอดไปเถิด..."

ข้อมูลจาก  "มุ่งสู่สายธาร  ปณิธานเบื้องพระยุคลบาท"  คมชัดลึก  ฉบับวันที่  5  ธันวาคม 2546

 เสวยบ่ายสี่

 ในการปาฐกถาพิเศษ  "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับปวงชนชาวไทย" ณ ศูนย์สารนิเทศ  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
เมื่อวันอังคารที่  18   พฤศจิกายน  2529  ม.ล.ทวีสันต์  ลดาวัลย์  ในฐานะราชเลขาธิการผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท
เล่าถึงวันทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า
"...บางที่กว่าจะเสวยพระกระยาหารกลางวัน  กว่่าจะเสวยได้ก็ประมาณบ่ายสี่โมง  
ซึ่งผู้ที่ตามเสด็จพระราชดำเนินอย่างผมเป็นต้น  บางทีก็ต้องพกลูกกวาดไป  
แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกนางสนองพระโอษฐ์หรือพวกข้าราชบริพารฝ่ายหญิงก็มักจะมีของติดกระเป๋า
และท่านก็กรุณาให้พวกเราได้รับประทานรองท้อง  แน่ละึครับเจ้านายทุกพระองค์ท่านก็ต้องทรงอดทน
ผมจึงได้กราบเรียนในตอนต้นว่าทรงเสียสละ  ทรงมีขันติธรรมเป็นอย่างมาก..."

ข้อมูลจาก "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช"
จัดพิมพ์โดย  คณะกรรมการงาน  5 ธันวามหาราช  ครั้งที่  11  ประจำปี  พ.ศ. 2530

เรื่องของคุณยาย

   "จำได้ว่าตอนที่โรงพยาบาลศิริราชเปิดให้ประชาชนลงชื่อถวายพระพรเนื่องจากพระองค์ท่านทรงพระประชวร
และเปิดขายเสื้อคุณทองแดง  ดิฉันจึงเดินทางไปซื้อเสื้อคุณทองแดงด้วย
....ระหว่างขึ้นเรือข้ามฟาก  ดิฉันได้เห็นคุณยายท่านหนึ่งอายุราวแปดสิบปี  แต่งตัวสวยมาก  นุ่งผ้าไหมเสื้อลูกไม้
คุณยายถามว่าจะไปลงชื่อถวายพระพรได้อย่างไร  ดิฉันจึงจูงคุณยาย ไปที่โรงพยาบาลศิริราชด้วยกัน
                  ...ระหว่างทางคุณยายเ่ล่าว่า  คุณยายนั่งรถเมล์มาจากดอนเมือง  หลงทางหลายครั้ง  ที่มาเพราะห่วงพระองค์ท่าน  
พูดแล้วคุณยายก็น้ำตาไหล  คุณยายท่านนี้เขียนหนังสือไม่เป็น  เวลามาลงนามถวายพระพรต้องวานเจ้าหน้าที่เขียนให้
...ดิฉันถามคุณยายว่าเดินทางไกลอย่างนี้ไม่เหนื่อยเลยหรือ  คุณยายตอบว่าไม่เหนื่อย
คุณยายอย่ากทำอะไรให้พระองค์ท่าน  แต่ไม่มีเงินทอง  ยายทำได้แค่นี้..."

คนไทยคนหนึ่ง

เสียงปริศนา

......ในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตฯ  ขณะที่ประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง
ทรงได้ยินเสียงตะโกนดัง ๆว่า  "ในหลวง  อย่าทิ้งประชาชนนะ"
  ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว  ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"
    เป็นที่น่าประหลาดว่า  ต่อมาอีกประมาณ  20 ปี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบชายที่ร้องตะโกนทูลพระองค์
ไม่ให้ิทิ้งประชาชนนั้นเป็นพลทหาร  และในปัจจุบันเขาออกไปทำนาอยู่ในต่างจังหวัด
 เขากราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ไม่ทรงทิ้งราษฏร  เขาทูลว่าตอนที่เขาร้องไปนั้น  
เขารู้สึกว้าเหว่และ่ใจหาย  ที่เห็นพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปจากเมืองไทย  กลัวจะไม่เสด็จกลับมาอีก
 เพราะคงจะทรงเข็ดเมืองไทย  เห็นเป็นเมืิองที่น่ากลัวน่าสยดสยอง  เขาดีใจมากที่ได้เฝ้าฯ  อีกกราบบังคมทูลถามว่า
"ท่านคงจำผมไม่ได้  ผมเป็นคนร้องไม่ให้ท่านทิ้งประชาชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า
"เราน่ะรึที่ร้อง?"
."ใช่ครับ  ตอนนั้นเห็นหน้าท่านเศร้ามาก  กลัวจะไม่กลับมา  จึงร้องไปเหมือนคนบ้า"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบ
"นั่นแหละ  ทำให้เรานึกถึงหน้าที่  จึุงต้องกลับมา"


สมุดภาพระบรมฉายาลักษณ์  ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถโปรดเกล้าฯจัดทำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 เพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึกแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2531
ทะเบียนสมรส

.....พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และม.ร.ว.สิริกิติ์  ทรงจดทะเบียนสมรสเฉกเช่นคู่สมรสทั่วไป.....
 สมุดทะเบียนสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพิเศษ  
ปกสมุดหุ้มด้วยหนังแกะอ่อนสีเหลืองเข้ม  กลางปกเป็นหนังสีน้ำตาล  มีอักษรตัวทองบอกว่าเป็นสมุดทะเบียนสมรส  
ข้อความในสมุดทะเบียนทุกอย่างคงเป็นเหมือนสมุดทะเ้บียนสมรสทั่วไป......
       ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยแท้  เกี่ยวกับการจดทะเบียนนี้  พระองค์ท่านทรงทำตามระเบียบทุกอย่าง
ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสนอกสถานที่  ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์  เสียค่าธรรมเนียม 10  บาท  ตามระเบียบถูกต้อง.....  
 

ฟื้น   บุณยปรัตยุธ
อดีตนายอำเภอปทุมวัน
นายทะเบียนในวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

บาบูรักในหลวง

...ระหว่างทรงพระผนวช  ทุกเช้าจะมีบาบู 3 นาย ขี่สามล้อเครื่องค่อนข้างเก่ามาหยุดอยู่ที่ประตูวัด
บาบูคนขับซึ่งแต่งกายด้วยเสื้อเชิ๊ตและกางเกงขาสั้น  ลงมาแก้ห่อนมสด 2 ขวด
 พร้อมกับหนีบนมสดทั้ง 2 ขวดเข้าไปให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ณ พระตำหนัก  
เพื่อถวายแด่พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บาบูนายนี้ชื่อนายรามดาส  ชาวอินเดีย  เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยมายี่สิบกว่าปีแล้ว  ่
มากับลูกชาย และนายชิืตาราม  ชิงห์ อายุ  56  ปี  เป็นพี่น้องกัน  ทั้งสามนับถือศาสนาฺฮินดู   
"แขกกับไทยมิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน  ศาสนาไม่เกี่ยว  ฉันมาอยูู่๋เมืองไทยมายี่สิบกว่าปี   สบายดีเหลือเกิน  
ฉันคิดถึงพระคุณในหลวง  และฉันรักท่านมาก  ฉันจึงไปขออนุญาตเจ้าหน้าที่เขาถวายนมสดวันละ  2  ขวดน่ะ"
   บาบูรามดาสได้เผยว่า  นมสดที่เขานำมาทูลเกล้าฯ  ถวายได้ทำอย่างชนิดพิเศษ  
คือรีดจากนมวัวแล้วใส่ขวดเลย  โดยไม่ปะปนกับนมสดที่นำไปขาย.....
 
ไล่ออกก็ยอม

.........ภูมิพโลภิกษุทรงลาสิกขาในวันที่ 5 พฤศจิกายน  รวมเวลาที่ทรงพระผนวชเป็นเวลา 15  วัน
    ทันทีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากพระอุโลสถวัดบวรนิเวศวิหาร  ในฉลองพระองค์ชุดเศวตพัสตร์  
แต่ไม่ทรงฉลองพระมาลา  ประชาชนสตรีจำนวนมากก็เฮโลล้อมหน้าล้อมหลัง  เมื่อเสด็จผ่านหญิงสาวผู้หนึ่งที่นั่งพับเพียบราบอยู่ใกล้
พระบาท  ได้นำดอกไม้มาถวาย  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับดอกไม้  แต่เหตุกาณ์ที่ไม่มีผู้ใดคิดว่าจะอุบัติได้อุบัติขึ้น
สตรีผู้นั้นได้ฉวยโอกาสขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับดอกไม้  คว้าพระหัตถ์มาจูบเสียฟอดใหญ่แล้วก้่มกราบ
 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผ่อนตามด้วยสีพระพักตร์ที่ยิ้มแย้ม  แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไป
     "ตั้งแต่พระองค์่ท่านทรงพระผนวช  หนูไม่ได้มีโอกาสมาเฝ้าเลย  จะลางานเขาก็ไม่ให้ลา  วัีนนี้่เลยหนีงานมาจะขอเฝ้าและ
จูบพระองค์ท่านเสียฟอดใหญ่  แหม...พระหัตถ์ท่านหอมและเย็นดีจังค่ะ.......

นางสาว ชูทิศ  แสงชัย
(ขณะนั้นอายุ 25 ปี)
หมึกไม่ออก

.........วันที่ 14  กรกฎาคม  2526 เป็นวันพระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่
นายกสโมสรอาจารย์จะเป็นผู้ดูแลถวายปากกาให้ทรงลงพระปรมาภิไธย  แต่ในปีนั้น  
ดิฉันในฐานะอุปนายกสโมสรอาจารย์ได้รับหน้าที่นี้แทน  
           ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนิน  เราก็ดูแลความเรียบร้อยทุกอย่าง  อย่างระมัดระวังที่สุด  
โดยเฉพาะปากกาลองกันหลายครั้งจนมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่ พอเสด็จฯ มาถึงท่านก็ทรงลงพระปรมาภิไธย
 ปรากฏว่าทรงจรดปากกาลงไปแล้วแต่ไม่มีหมึกออกมาเราก็ตกใจมากเลย  ไม่รู้จะทำยังไงดี
 นึกในใจว่าเป็นความบกพร่องของเราแน่ๆ  ลองมากไปจนหมึกหมด
ดิฉันก็เลยถวายกระดาษทิชชูเปล่าๆ  ที่อยู่ในมือให้ท่าน  เพื่อจะให้ท่านทรงเช็ดปากกา
 แต่ท่านทรงพระเมตตามากเลย  สีพระพักตร์ที่ท่านมองดิฉันเหมือนกับจะตรัสว่า "ไม่ต้องตกใจ"
 แล้วก็ทรงนำปากกามาลองที่มือดิฉันที่มีกระดาษทิชชู  ปรากฏว่าหมึกออก  จากนั้นก็ทรงหันไปลงพระปรมาภิไธยในสมุด
   พอท่านเสด็จพระราชดำเนินไปแล้ว  ทุกคนก็รีบเข้ามาดูกระดาษที่ทรงลองปากกาแผ่นนั้นกันใหญ่
 ศาสตราจารย์  ดร.สุรพล   วิรุฬรักษ์  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
 บอกว่า "พี่ีๆ  ขอหน่อยเถอะพี่  จะเอาไปเป็นมงคล"   ก็เลยแบ่งให้อาจารย์ไปส่วนหนึ่ง......

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  องค์รัตน์  สุขุม
สารคดีโทรทัศน์ "พ่อของแผ่นดิน" 
เกาะช้าง

.......ครั้งนั้นทรงเสด็จประพาสทางทะเล  แม่ทัพเรือในตอนนั้นมียศเป็นจอมพล  
เป็นญาติกันกับข้าพเจ้าได้ถวายรายงานตลอดเวลาที่เรือพระที่นั่งแล่นผ่านไปในท้องทะเล
 แม่ทัพเรือผู้นี้มีบรรดาศักดิ์เป็นคุณหลวงเสียด้วย ตอนนั้นเรือพระที่นั่นผ่านเกาะใหญ่ในทะเล
 ทรงมีพระราชดำรัสถามคุณหลวงแม่ทัพเรือว่า  "เกาะอะไร ชื่อเกาะนี้ชาวบ้าน  เขาเรียนกันอย่างไร"
       ท่านอดีตแม่ทัพเรือได้กราบบังคมทูลว่าอยางนี้ครับ
"ขอเดชะ  เกาะนี้ชาวบ้านเรียนพระนามว่าเกาะช้างพระเจ้าข้า"
ทรงรับฟังคำกราบทูลของท่านแม่ทัพเรือ  แล้วก็ทรงแย้มพระสรวล  ทรงหันกลับมามีพระราชดำรัสกับท่านแม่ทัพเรือว่า
"งั้นเกาะนี้ก็เป็นญาติกับฉันน่ะซี".......

 
เฉลิมศักดิ์   รามโกมุท
อดีตตำรวจหลวง

พานดอกไม

..........การเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานออกไปต่างจังหวัดนั้น  ทรงพระราชทานความเป็นกันเองแก่ราษฎรท

   
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.