ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 3.16.83.150 : 24-04-24 21:31:03   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

ครัชแต่งและฟลายวิลแต่ง  

 
ครัชแต่งและฟลายวิลแต่ง
 

หลังจากที่พวกเราแต่งเครื่องยนต์มาจนได้แรงม้ากว่า 1,000 แรงม้ากันแล้ว แต่ทำไมรถยังวิ่งไม่ดีเลย เครื่องแรงแต่ล้อไม่หมุนสงสัยครัชจะลื่นหรือปล่าว เอาเป็น 4 plate กันไปเลยละกัน ว่ากันไปใหญ่แล้ว ได้สักพันม้าก็ดีละสิแล้วจะเอาตังค์ไหนเติมน้ำมันกันล่ะทีนี้ คิดไปกันใหญ่ มาว่าเรื่องของครัชกันต่อ สำหรับท่านที่ใช้เกียรออโต้บอกว่าไม่น่าสนใจ รถเราไม่มีครัชนี่หว่า จะบอกให้ครับเกียรออโต้ก็มีครัชเหมือนกัน และมีมากกว่าเขาอีกแต่ยังไม่ขอพูดถึง มาดูของพวกที่ใช้เกียรธรรมะ กันไปก่อนเพื่อจะได้รสพระธรรมกันติดตัวไปกับเขาบ้างครับ

หน้าที่การทำงานของครัชก่อน
ครัช ( Clutch ) เป็นอุปกรณ์สำคัญในระบบส่งกำลัง ไม่ว่าเกียรออโต้หรือเกียรธรรมดาต่างก็มีครัชทั้งสิ้น ครัชทำหน้าที่ตัดกำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งไปยังเกียร ด้วยเหตุผลที่ว่าในการเปลี่ยนเกียรแต่ละเกียรนั้น ต้องมีการตัดกำลังจากเครื่องยนต์ที่จะส่งไปยังเกียรเสียก่อนเพื่อให้เฟืองเกียรหมุนช้าลง ถึงจะทำการสลับเปลี่ยนเฟืองเกียรได้ เพราะฟันเฟืองที่อยู่ในเกียรที่หมุนอยู่จะไม่สามารถแยกตัวออกมาเพื่อสลับไปยังฟันเฟืองของเกียรอื่นได้

 

ส่วนประกอบของชุดกดครัช
1
ขาเหยียบครัช เป็นส่วนที่รับแรงกดจากเท้าของคนขับ เมื่อเหยียบจะเกิดแรงกดแบบเดียวกับคานกระดก ซึ่งต่อกับสากครัชไปกดยังแม่ปั้มครัชบน
2.
แม่ปั้มครัชบน เป็นส่วนที่สร้างแรงดันไฮโดรลิค เมื่อได้รับแรงกดจากขาครัช ชุดลูกยางแม่ปั้มครัชจะเคลื่อนตัวผลักดันน้ำมันครัชให้เกิดแรงดันส่งไปยังท่อน้ำมันครัช
3.
ท่อน้ำมันครัชและสายอ่อนครัช ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันครัช ที่มีแรงดันสูงในแบบไฮโดรลิคส่งไปยังปั้มครัชล่าง
4.
ปั้มครัชล่าง ทำหน้าที่รับแรงดันไฮโดรลิค เมื่อได้รับแรงดันจะเกิดอาการยืดตัวออกมา โดยส่งกำลังมายังสาก
ครัชอีกที
5.
ก้ามปูครัช ทำหน้าที่คล้ายกับคานกระดก เมื่อได้รับแรงกดจะดีดตัว ส่วนนี้จะต่อเข้ามายังหัวหมูเกียร ส่วนนอกจะต่อกับปั้มครัชล่าง ส่วนด้านในจะต่อกับลูกปืนครัชทำหน้าที่ไปกดกับลูกปืนครัช และหวีครัชให้เกิดการยกตัว
6.
ลูกปืนครัช เป็นส่วนที่ได้รับแรงมาจากก้ามปูครัช เพื่อไปกดหวีครัช เนื่องจากหวีครัชต้องมีการหมุนอยู่ตลอดในขณะทีเครื่องทำงาน ส่วนนี้จึงต้องใช้ลูกปืนทำหน้าที่เป็นตัวส่งแรงกด เพราะต้องวิ่งตามไปพร้อมหวี ในขณะกดลงบนตีนผีของหวีครัช

ส่วนประกอบภายในชุดครัช
1
ฟลายวิล ( Fly whell ) หรือล้อช่วยแรง ตัวนี้จะไขติดกับเพลาข้อเหวียงของเครื่องยนต์ มีน้ำหนักประมาณ 5 – 15 กิโลกรัม เป็นตัวช่วยสร้างแรงเหวียง หรือแรงบิดให้กับเครื่องยนต์ และยังเป็นตัวยึดติดกับหวีและแผ่นครัช
2.
แผ่นครัช หรื่อผ้าครัช ( Clutch disc ) เป็นโครงเหล็กกลมๆ ตรงกลางเป็นฟันเฟืองที่ต้องมีขนาดพอดีกับ Spy gear หรือ เฟืองขับเกียร มีสปิง 3 – 4 ตัวทำหน้าที่ลดแรงกระชากของผ้าครัชจนโครงผ้าครัชได้รับการเสียหาย ด้านนอกสุดเป็นผ้าครัช เป็นลักษณกลมหรือเป็นก้อนๆ ถูกย้ำติดด้วยหมุด หรือกาวชนิดพเศษ ผ้าครัชจะมีส่วนผสมของคาร์บอน ใยแก้ว ทองเหลือง หรือทองแดง ทำหน้าที่ เมื่อได้รับแรงกดจกหวีครัช ผ้าครัชด้านหนึ่งจะจับตัวกับฟลายวิล อีกด้านหนึ่งจะจับตัวกับหวี ทำให้เฟืองกลางที่สวมกับเกียรหมุนตาม จึงมีแรงส่งไปยังเกียร
3
หวีครัช ( Clucth pressure plate ) เป็นโครงเหล็กกลม ยึดติดกับจานกดครัช โดยมีสปริงกครัชมีลักษณะเป็นแผ่นสปริง หรือตีนผี หลายๆตัวล้อมรอบอยู่ด้านใน การทำงานเมื่อได้รับแรงกดบริเวณตีนผี ( ในรุ่นจานกด ) จะทำให้จานกดครัชยกตัวขึ้น ไม่มีแรงกดไปยังผ้าครัชและฟลายวิล ทำให้ผ้าครัชเกิดการหมุนฟรี เกียรก็จะเกิดการตัดกำลังจึงสามารถเปลี่ยนเกียรได้ เมื่อปล่อยกลับ แรงกดจากตีนผีจะไปดันจานกดให้ไปกดทับผ้าครัช และฟลายวิล จึงมีการส่งกำลังขึ้นดังเดิม

การปรับแต่งครัชในรูปแบบต่างๆ
อย่างที่ทราบครับว่าครัชทำหน้าที่ตัดกำลังให้หมุนฟรี และจับตัวส่งกำลังจากเครื่องยนต์ ไปยังเกียร ดั้งนั้นถ้าเครื่องยนต์ของเราแรงขึ้นมีกำลังมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดอาการครัชลื่น รอบเครื่องยนต์ฟาดไปขีดแดงแล้ว รถยังไม่อยากจะไปเลย ไม่สามารถถ่ายทอดแรงม้าลงสู่พื้นได้อย่างครบถ้วน จึงต้องมีการดัดแปลงโมดิฟลายครัชกันใหม่ เพื่อลดอาการลื่น ช่วยทำให้เครื่องยนต์ส่งกำลังมายังเกียร และเฟืองท้ายได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันครับว่าเขามีวิธีใดกันบ้าง
1.
เปลี่ยนผ้าครัชใหม่ โดยมองหาผ้าครัชที่มีวัสดุส่วนผสมที่ดีกว่าที่ใช้อยู่ ส่วนมากมักจะนิยมทองแดงมาเป็นส่วนผสมให้มากขึ้นเนื่องจากทนความร้อน และจับตัวได้ดีกว่า ที่เรียกว่าผ้าทองแดงกันนั่นหละครับ
2.
เปลี่ยนชุดครัชให้ใหญ่ขึ้น โดยมองหาชุดครัชของเครื่องรุ่นอื่นที่ใก้ลเคียง แต่มีขนาดโตกว่า แต่ต้องไม่โตกว่าฟลายวิลเดิมที่ติดกับเครื่อง และไม่ติดกับหัวหมูเกียร มาดัดแปลงเจียรหน้าฟลายวิลใหม่ เจาะรูยึดหวีครัช เปลี่ยนเฟืองขับเกียรตรงกลางผ้าครัชให้สามารถสวมกับ เฟืองเกียรได้ แบบนี้ก็สามารถทำให้ ครัชจับตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่ในการจับเกาะได้มาก บวกกับหวีครัชที่อาจจะมีแรงกดที่สูงขึ้น
3.
เปลี่ยนสปริงกดครัช สังเกตที่หวีครัชจะมีสปริงกดครัชอยู่ระหว่าง จานกดครัช กับโครงหวีครัช เป็นแผ่นเหล็กซ้อนกันอยู่ 2- 3 แผ่น หรือที่เรียกกันว่าไม้ไอติม ตัวนี้จะเป็นตัวสร้างแรงกดให้กับจานกดครัช นิยมเสริมให้มากขึ้นเช่นจาก 2 เป็น 3 แผ่น หรือเปลี่ยนให้มีขนาดโตขึ้น จึงสามารถสร้างแรงกดได้มากขึ้น
4.
เสริมแผ่น plate หรือตีนผี ตามปกติแล้วตีนผีของหวีครัช จะเป็นแผ่นสปริงที่สร้างแรงกดได้มาก แต่ถ้ายังไม่เพียงพอ นิยมที่จะเปลี่ยนแผ่น plate ให้มีขนาดหนาขึ้น สร้างแรงกดได้มากขึ้น หรือซ้อนแผ่น plate ให้เป็นลักษณะ 2 ชั้น แบบนี้อาจเพิ่มแรงกดได้กว่าเท่าตัว แบบนี้ข้อเสียมักจะทำให้ต้องออกแรงเหยียบครัช (ครัชแข็ง) เกิดความยกลำบากในการขับขี่ และอาจต้องมีการเสริมก้ามปูให้แข็งแรงขึ้นเพราะอาจะทำให้ก้ามปูหักได้ง่ายๆ

ครัชแต่งและฟลายวิลแต่ง
การแก้ปัญหาครัชลื่น บ้างครั้งนิยมเปลี่ยนเป็นครัชแต่ง ที่บรรดาสำนักแต่งต่างๆ ได้ทำออกมาขายให้กับนักซิ่ง ที่แต่งเครื่องยนต์ให้รุนแรงขึ้น หรือการขับขี่ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งแต่ละสำนักจะมีการออกแบบมามากมายหลายแบบแต่ที่นิยมในปัจจุบันจะมีลักษณะตามจำนวนผ้าครัชดังนี้
1 . Single plate
ชุดครัชแบบนี้เป็นลักษณะคล้ายกับของโรงงาน โดยมีผ้าครัชแผ่นเดียว และหวีครัชประกอบติดกับฟลายวิลเดิมของโรงงานได้เลย แบบนี้ทางสำนักแต่งจะทำการโมดิฟลาย
หวีครัชให้มีแรงกดเพิ่มมากขึ้น ผ้าครัชจะเปลี่ยนเป็นแบบทองแดง ที่มีลักษณะเป็นก้อนๆ เช่น 3 ก้อน หรือ 5 ก้อนต่อด้าน ส่วนมากจะมีการกำหนดขนาดแรงกดของหวีครัชมาเช่น 800 ก.ก. หรือ 900 ก.ก รับแรงม้าได้ไม่เกิน 300 – 350 แรงม้า
2. Twin plate
แบบนี้เป็นแบบที่นิยมกันมากขึ้น มีการออกแบบได้อย่างชาญฉลาดมาก ด้วยการออกแบบให้มีผ้าครัชถึง 2 แผ่น และจานกดครัชถึง 2 ตัว ทำให้ครัชแบบนี้สามารถลดอาการลื่นของครัชได้มากขึ้น แต่ด้วยความที่ชุดครัชมีอุปกรณ์ที่มากขึ้น ทำให้น้ำหนักเพิ่มมาก ครัชแบบนี้จึงต้องออกแบบฟลายวิลเสียใหม่ ให้มีน้ำหนักเบาขึ้นเพื่อมาชดเชยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ฟลายวิลจึงเป็นแบบลดน้ำหนัก นิยมใช้ วัสดุโคโมลี่ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก ราคาจึงแพงกว่าแบบธรรมดาอยู่หลายเท่าตัว
3. Tripple plate
เป็นแบบที่พัฒนามาจาก twin plate โดยการเพิ่มชุดกดครัชให้มากขึ้นไปอีก 1 ชุดจึงทำให้มี ผ้าครัชและจานกดถึง 3 แผ่น แต่ในการจะกดชุดครัชให้อยู่นั้น ต้องเพิ่มแรงกดให้กับหวีครัชให้มากขึ้นขนาด 900 – 1,100 ก.ก. แบบนี้จะสามารถรับแรงม้าได้ตั้งแต่ 400 – 800 แรงม้าได้อย่างสบายๆ
4. Four plate
มีลักษณะเดียวกับ twin plate และ tripple plate แต่จะมีผ้าครัช และจานกดครัชถึง 4 แผ่น หวีครัชมีแรงกดตั้งแต่ 1,200 ก.ก. ขึ้นไป สามารถรับแรงม้าได้มากกว่า 1,000 – 1,300 แรงม้า แบบนี้เนื่องจากมีแรงกดมาก ชุดแรงดันไฮโดรลิคกดครัชมักใช้แบบ direct clutch คือเป็นแบบไม่มีก้ามปูกดครัช แต่จะใช้ชุดแรงดันไฮโดรลิคติดตั้งไว้ในเสื้อเกียรเลย เพราะการใช้ก้ามปูอาจทำให้หักได้ และลดแรงเหยียบของผู้ขับ แบบนี้จะช่วยผ่อนแรงในการเหยียบครัชได้มาก

 ฟลายวิลแต่ง
เครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับแต่งให้แรงขึ้นมักนิยมลดน้ำหนักที่ฟลายวิล
ให้มีน้ำหนักเบาขึ้น วิธีการลดน้ำหนักเริ่มตั้งแต่ นำฟลายวิลเดิมมาทำการขึ้นแท่นกลึง แล้วกัดผิวด้านต่างๆให้บางลง โดยเจียรจุดต่างๆและไม่จำเป็นทิ้งไป คำนึงถึงน้ำหนักเป็นหลักเช่นจากเดิมมีน้ำหนักที่ 8 ก.ก ก็กลึงทิ้งเสีย 2 ก.ก เหลือเพียง 6 ก.ก แบบนี้เป็นวิธีที่นิยม แต่จะทำให้สูญเสียความแข็งแรงอาจเกิดการแตกร้าวได้ อีกวิธีคือการเปลี่ยนเป็นฟลายวิลแต่ง ซึ่งเกือบทุกสำนักจะมีฟลายวิลแต่งแบบน้ำหนักเบาออกมาจำหน่าย ซึ่งส่วนมากจะนิยมใช้ เหล็กแบบโคโมรี่ ที่มีคุณสมบัติคือน้ำหนักเบาทนความร้อนสูง และมีความแข็งแรงมากกว่า หรือบางรุ่นทำจากวัสดุอย่างอลูมิเนียมผสมเกรดดี ที่สามารถทนความร้อนและแรงกดได้มากขึ้น การลดน้ำหนักฟลายวิลจะมีผลทำให้แรงบิดของเครื่องยนต์ลดลง หรือเพิ่มขึ้นในรอบเครื่องยนต์ต่างๆ เช่นอาจจะทำให้แรงบิดในรอบต้นหายไป แต่แรงบิดในรอบปลายดีขึ้น มีผลต่อความเร็ว และน้ำหนักของรถด้วย

การช่วยทำให้เหยียบครัชนิ่มขึ้น
ส่วนมากแล้วหลังจากที่เราโมดิฟายครัชใหม่ให้มีแรงกดมากขึ้น หรือการเปลี่ยนครัชแต่ง ปัญหาที่ตามมาคือการเหยียบครัชจะต้องออกแรงเพิ่มขึ้น ครัชแข็ง ออกตัวยาก หรือเวลาเห็นรถติดๆแล้วไม่ค่อยอยากไปไหน เพราะกลัวการเหยียบครัชจนขาชา วิธีทีนิยมกันส่วนมากมีหลายวีธีเช่น เปลี่ยนแม่ปั้มครัชบนให้มีขนาดโตขึ้น ส่วนมากนิยมยืมแม่ปั้มมาจากรถ 6 ล้อหรือ 10 ล้อ ทำให้มีแรงดันไฮโดรลิคเพิ่มมากขึ้น หรือหาปั้มครัชแบบที่มีหม้อลมช่วยแรง แบบของ Nissan Skyline การดามตัวถังหน้าแปลนครัชให้แข็งแรงขึ้น การเปลี่ยนสายอ่อนครัชเป็นสายถักแสตนเลส แบบนี้จะช่วยให้มีแรงดันส่งไปยังแม่ปั้มครัชล่างได้แบบเต็มๆ สายน้ำมันไม่โป่งตัวออก การสร้างก้ามปูให้ยาวขึ้น การเปลี่ยนปั้มครัชล่างให้มีขนาดโตขึ้น หรือการเปลี่ยนไปเป็นแบบ direct clutc ที่มีชุดไฮโดรลิคติดตั้งในหัวหมูเกียรเลย  

 

 
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.