ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 44.221.43.88 : 29-03-24 0:25:04   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

40 ปี ละครจักรๆ วงศ์ๆ บนเส้นทางที่แปรเปลี่ยน  

 
40 ปี ละครจักรๆ วงศ์ๆ บนเส้นทางที่แปรเปลี่ยน
 
40 ปี ละครจักรๆ วงศ์ๆ บนเส้นทางที่แปรเปลี่ยน
โดย ผู้จัดการรายวัน 18 พฤษภาคม 2550 09:23 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น









สยม

กอล์ฟ

ขนาดทรงผมตัวละครเด็กๆ ยังทันสมัยซะขนาดนี้

แม้จะไร้ซึ่งความสมจริงในเรื่องเทคนิคด้านการถ่ายทำ แต่ความสนุกสนานของเนื้อหาและคติสอนใจที่ได้จากการดู "ละครพื้นบ้าน" ในอดีต ก็ทำให้ใครหลายคนต่างหาได้สนใจในจุดด้อยที่ว่า
       ตรงกันข้ามกับในปัจจุบัน
       
       เพราะแม้จะมากด้วยความตระการตาของเอฟเฟกต์ ความสมจริงของการต่อสู้ แต่เรื่องที่น่าแปลกก็คือใครหลายคนกลับไม่รู้สึกถึงความอิ่มประทับใจกับสิ่งเหล่านี้สักเท่าไหร่
       

       เพราะอะไร?
       
.......................
       
       การแปรเปลี่ยน
       หากนับเรื่อง "ปลาบู่ทอง" ของบริษัทดาราฟิล์ม เป็นปีแรกของ "ละครพื้นบ้าน" ที่ออกฉายทางหน้าจอทีวีในบ้านเรา จนถึงวันนี้กินเวลานาน 40 ปีพอดีเชื่อว่าหลายคงจะคุ้นและนึกได้ถึงความสนุกสนานจากความเก่งกาจของพระเอกในเรื่องสิงหไกรภพ, สังข์ทอง, จันทโครพ, แก้วหน้าม้า, ขวานฟ้าหน้าดำ, หลวิชัย-คาวี, สี่กุมาร, สุพรรณหงส์, นกกระจาบ, พระรถเมรี, นางสิบสอง, บัวแก้วบัวทอง, เกราะเพชรเจ็ดสี, มณีนพเก้า, พิกุลทอง, โสนน้อยเรือนงาม, เทพศิลป์ อินทรจักร, เทพสามฤดู และอีกมากมาย
       
       ว่ากันถึงที่มาของละครเหล่านี้เกือบทั้งหมดจะมาจากนิทานพื้นบ้าน ที่เล่าต่อๆ กันแบบปากต่อปากหรือมุขปาฐะ จะแตกต่างกันบ้างก็ในเรื่องรายละเอียดที่คนเล่าจะสอดแทรกในสิ่งที่ตัวเองรู้เข้าไปในแต่ละท้องถิ่น โดยสังเกตได้จากโครงเรื่องที่คล้ายๆ กัน อาทิ เจ้าชาย พลัดพรากจากบ้านเมือง ต้องออกเดินทางผจญภัย พบนางเอง ซึ่งส่วนมากก็คือยักษ์ หรือไม่ก็พระเอกเกิดมาถูกใส่ร้ายเป็นตัวกาลีบ้านกาลีเมือง จำเป็นต้องถูกเนรเทศเข้าป่า ได้ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์หรือฤาษี เจอกับนางเอก กลับมากอบกู้บ้านเมือง
       

       แต่ถึงแม้จะเดาได้ไม่ยาก ทว่าด้วยปลีกย่อยของท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปนั่นเองที่ได้สร้างความสนุกสนานให้กับเรื่องเล่าเหล่านี้ตามความคิดเห็นของ "รศ.ประคอง เจริญจิตรกรรม" อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย ม.ธรรมศาสตร์ ที่บอกว่า...
       
       "เมื่อเห็นเรื่องแบบนี้ก็จะเดาถูกว่าเรื่องราวจะลงเอยเช่นไร เสน่ห์ของนิทานพื้นบ้านจึงไม่ได้อยู่ที่โครงเรื่อง แต่อยู่ที่ส่วนปลีกย่อยที่ผู้เล่าเรื่องเสริมแต่งกันเข้าไปให้เหมาะกับท้องถิ่นและยุคสมัย โดยเรื่องที่นำมาตีพิมพ์ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากในขณะนั้นก็คือ นิทานวัดเกาะ”
       
       ในอดีตแม้จะสนุกสนานไปกับการต่อสู้และอภินิหารและการต่อสู้ของพระเอกในการปราบเหล่าร้าย แต่สิ่งที่ผู้ดูละครเหล่านี้จะได้รับไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัยก็คือเรื่องของ "คติสอนใจ" ที่เสมือนเป็นแกนหลัก ทว่าระยะหลังๆ นี้เองดูเหมือนว่าเหล่าผู้ผลิตจะให้ค่าต่อละครพื้นบ้านที่แตกต่างกันไป
       

       “แต่เดิมเราเรียกละครจักรๆวงศ์ๆ นะครับ แล้วละครพื้นบ้านเนี่ย เพิ่งเข้ามาสัก 10 กว่าปีได้แล้ว..." “ลอร์ด สยม สังวริบุตร” เจ้าของค่ายดีด้าฯ ทายาทของ "ไพรัช สังวริบุตร" ศิลปินแห่งชาติ (สาขาศิลปะการแสดงภาพยนตร์และละคร ปี 2547) ผู้บุกเบิกละครประเภทนี้ให้ปรากฏทางหน้าจอทีวีของบ้านเราพูดถึงในสิ่งที่ใครหลายคนค่อนข้างจะสับสน
       

       ปัจจุบันเหลือเพียงดีด้าฯ เพียงค่ายเดียวเท่านั้นที่ผลิตละครจักรๆ วงศ์ๆ ผ่านทางช่อง 7 โดยมีดาราแม่เหล็กที่ค้นหน้าคุ้นตากันดี อาทิ โฟน ฆธาวุธ ปิ่นทอง, แยม ศิริวัฒนา เบญจมาธิกุล, เจมส์ เลอสรรค์ คงเจริญ, อ้อม ประถมาภรณ์ เป็นตัวชู
       
       "สมัยก่อนเป็นหนัง เลยเรียกว่าหนังจักรๆ วงศ์ๆ ใช้ฟิล์ม 16 มม.ถ่ายน่ะครับ สมัยนั้นผมเพิ่งเกิดเอง แล้วพอมาเปลี่ยนเป็นการอัดวิดีโอก็มาเป็นละครจักรๆ วงศ์ๆ แล้วก็มาเป็นละครพื้นบ้าน แต่จริงๆ มันคือละครแบบเดียวกันน่ะครับ”
       
       สองสิ่งที่เห็นได้ชัดจากการเปลี่ยนแปลงของละครจักรๆ วงศ์ๆ ก็คือในเรื่องของการทำเทคนิค เอฟเฟกต์ กราฟิก และทรงผมการแต่งกาย บทเจรจา ซึ่งในขณะที่ใครหลายคนมองว่ามันขัดในอารมณ์ความรู้สึกชนิดที่ว่าบางเรื่องนั้นก็เหมือนกับจับเอาเอฟโฟร์ เอาซูเปอร์จูเนียร์ มาเล่นนั้น ทว่าในมุมของ "สยม" แล้วเขาไม่ได้รู้สึกว่าความแปลกแตกต่างที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องสำคัญแต่อย่างใด หากเจตนาในการนำเสนอยังเหมือนเดิมแม้ตัวเลือกในการสร้างจะมีไม่มากก็ตาม
       

       “นิยายจักรๆ วงศ์ๆ มีเรื่องที่เป็นหลักๆ อยู่เนี่ยไม่กี่เรื่องนะครับ ไม่มากเรื่องนัก โดยการเลือกเรื่องถ้าในจังหวะที่ออกอากาศไปแล้ว 10 ปี แล้วเราอาจจะเลือกมาทำใหม่ ผู้ใหญ่บางคนอาจจะบอกว่าบางเรื่องทำไปแล้วเอามาทำอีก แต่จริงๆ แล้ว เนี่ยพวกเรามีความรู้สึกว่าเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมาเนี่ย ตอน 5 ขวบดู แต่พอถึง 15 ขวบเนี่ย เด็กรุ่นใหม่ที่คาดผมก็มาแล้วน่ะ"
       
       "เราก็เอามาสร้างใหม่ให้แปลกกว่าเดิม แต่ว่าองค์ประกอบ หัวใจไม่เปลี่ยน แต่วิธีการสร้างอาจเปลี่ยนไป แต่เรื่องที่ไม่เคยสร้างก็มี อย่างหนังสือวัดเกาะก็มีหลายเรื่องอยู่ เราได้ประธานมาจากเสด็จองค์ชายเล็ก ท่านมีเยอะก็จะสร้างกันต่อไป”
       
       “ส่วนเรื่องของเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าหน้าผมก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่เนื้อหาเดิมๆ ของละครจักร์ๆ วงศ์ๆ ก็ยังคงเดิม แล้วก็สิ่งที่เราพัฒนาการไปเรื่อยๆ ก็มีเรื่องการแต่งตัว ที่อาจจะขยับให้มันทันสมัยมากขึ้น ศิลปะบางเรื่องก็เป็นไทยทั้งเรื่อง บางเรื่องก็เป็นไทยแบบโรมันก็มี แบบฝรั่งก็มีนะ"
       
       "อย่างโกมินทร์ก็จะออกเป็นจีนๆ นิดหนึ่ง แต่อย่างพวกกระบังหน้า เครื่องประดับแต่งกายเราแต่เดิมเป็นทองเราก็มาเปลี่ยนเป็นแก้วบางๆ แต่ทีนี้โดยจริงๆ โดยรวมแล้วก็ไม่ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง พอมันเปลี่ยนไปมากๆ เราก็จะเปลี่ยนแวบกลับมาเป็นไทยเราก็จะกลับมาอยู่ดี ยังรักความเป็นไทย”
       
       ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของภายนอกเท่านั้น ทว่าบทในส่วนของเรื่องราว เนื้อหาของเรื่องเองก็ดูจะมีความเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อยจนราวกับ "ละครหลังข่าว" ก็ไม่ปานจากการเน้นเรื่องของเรื่องราวความรัก ความอิจฉาริษยาและเสียง    แว้ดๆ ที่มีมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับเรื่องนี้“หนำเลี๊ยบ คูณฉกาจ วรสิทธิ์” ในฐานะของผู้กำกับละครจักรๆ วงศ์ๆ เจ้าตัวยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาสร้างให้อิจฉาริษยาหรือตบตีแย่งผู้ชาย หากแต่เป็นการสอดใส่เข้าไปเพื่อให้มีความหลากหลายในละครแนวนี้เท่านั้น
       
       "มันก็ต้องมีปะปนกันไปครับ ผสมกันไป เดี๋ยวช่วงนี้จะเป็นแบบนี้ เดี๋ยวต่อไปก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง ก็จะขยับกันไป เพื่อไม่ให้มันน่าเบื่อ เพราะมันมีอีกหลายเรื่อง ถ้าเราทำซ้ำแบบเดียวกัน มันจะน่าเบื่อ เดี๋ยวเรื่องนี้พื้นบ้านบ้าง เรื่องนี้ให้มันทันสมัยขึ้นมาหน่อย”
       
       "ผมกำกับมาหลาย 10 เรื่องแล้วครับ อย่างนางสิบสอง แก้วหน้าม้า สี่ยอดกุมาร สิงหไกรภพอะไรละครพื้นบ้าน มันแตกต่างไปเยอะนะครับจากแต่ก่อนอย่างเทคนิคก็พัฒนาขึ้นจากแต่ก่อน แปลกใหม่ขึ้น ทันสมัยขึ้น ส่วนทรงผมเนี่ยก็มีนิดหน่อยที่คล้ายกับเกาหลีญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ใช่ว่าทั้งหมดนะ มันก็มีอีกหลายส่วนที่ยังคงความเป็นไทยเอาไว้ คือมีการปะปนกันไป คือเราก็พยายามปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้มันทันสมัยมากขึ้น”
       
       หลายคนจะมองว่าคนที่เล่นละครจักรๆ วงศ์ๆ เป็นดาราอีกเกรดหนึ่ง ที่เป็นเหมือนเวทีแรกก่อนก้าวเข้าสู่การเป็นนักแสดงระดับแนวหน้า หรือเล่นละครหลังข่าว อย่างที่รู้จักกันดี อาทิ กบ สุวนันท์, ขวัญ อุษามณี, พิงค์กี้, บี มาติกาฯ แต่ในฐานะผู้ผลิต “สยม” กล่าวว่าเมื่อก่อนมีการแบ่งเกรดดาราจริง แต่มาถึงยุคนี้ไม่มีแล้ว
       
       "มันโดนมองแบบนี้มาตั้งแต่ผมเด็กๆ แล้วครับ สมัยก่อนทีวีก็เป็นอีกเกรด หนังใหญ่ก็จะอีกเกรดหนึ่ง แต่สมัยนี้ ดาราก็คือดารา ไม่ใช่แล้ว โยกไปเล่นได้ แต่ว่าละครจักรๆวงศ์ๆ ถ้าในความรู้สึกผมคือไม่รู้สึกว่ามันคืออีกเกรดหนึ่งนะ ผมว่าผู้ชมเนี่ยถ้าไปดู ไปออกงานจะได้รู้ว่าพวกนี้เขามีแฟนคลับมาก ไปแล้วคนรู้จักพวกเขาเยอะ เขาเองก็ไม่รู้สึกว่าเป็นอีกเกรดหนึ่งเพราะพวกเขาก็คิดนะว่าเป็นที่ที่ทำให้ได้ฝึกพื้นฐานของการแสดงด้วย ไปถ่ายในที่ยากลำบาก ยุงกัด พอมาเล่นละครสมัยใหม่ ก็เหมือนเป็นบททดสอบ"
       
       “ส่วนการเลือกนักแสดงเนี่ย หน้าไทยนี่เป็นสิ่งแรกที่เราเลือกกัน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แต่เราเองก็พยายามให้มีความหลากหลาย 80 - 90% ก็ต้องมีความเป็นไทย อาจจะแขกๆ หน่อยก็ได้ ถ้าหน้าจีนก็ต้องดูที่เนื้อหาว่าเข้ากับเรื่องมั้ย”
       .......................
       
       ในมุมแฟนพันธุ์แท้
       
ในมุมมองของ “แฟนพันธุ์แท้ ละครจักรๆ วงศ์ๆ” อย่าง  "กอล์ฟ สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์” ให้เหตุผลว่า ประการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเรื่องราวของเสื้อผ้า หน้า ผม ของละครจักรๆ วงศ์ๆ นั้น น่าจะมีสาเหตุมาจากการหลั่งไหลเข้ามาของซีรีส์ต่างประเทศไม่ว่าจะเกาหลี ญี่ปุ่น หรือประเทศในแถบตะวันตก จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในละครจักรๆ วงศ์ๆ ไปด้วย
       
       อีกทั้งเนื้อหาที่มุ่งเน้นด้านชิงรักหักสวาท ที่แทรกซึมเข้ามาในช่วงหลัง ก็น่าจะมาจากการสะท้อนปัญหาสังคมด้านความรักและทางเพศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
       

       “จุดเปลี่ยนเกิดจากการที่ว่าการหลั่งไหลเข้ามาของซีรีส์ เกาหลี ถ้าเราสังเกตเรื่องบัวแก้วจักรกรด ที่เพิ่งฉายไปก่อน พระทิณวงศ์พระเอกเนี่ยหน้าออกมาเป็นเกาหลีเลย ทีนี้คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์ สั่งถอดเรื่องนี้ออกทันที คุณแดงไม่เห็นด้วยกับพระเอกคนนี้ ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นคนที่เล่นเป็นพระทิณวงศ์ตอนนี้แทน”
       
       “จุดเปลี่ยนพวกนี้ก็คือเปลี่ยนตามกระแส มันสะท้อนสังคม ถ้าเกิดว่าตอนนี้ว่าจะดูข่าวหรืออะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรื่องวัยรุ่น ปัญหาทางเพศ หรืออะไรก็ตามเนี่ย ตรงนี้แหละทำให้รู้ว่าค่านิยมและความสนใจของคนเรื่องเพศเนี่ย มันเริ่มแรงแล้วนะ จากแต่ก่อนที่เราให้ความสำคัญกับเด็ก ตอนนี้เราให้ความสำคัญกับความรักเสียมากกว่า เพราะฉะนั้นระยะหลังตั้งแต่ยุคปี 2545 ลงมา เรื่องละครจักรๆวงศ์ๆ ก็จะเป็นแนวรักๆ ใคร่ๆ ตลอด”
       
       “อย่างการแต่งกายเนี่ย ผู้จัดก็ต้องพยายามเอาใจคนดูอยู่แล้ว แต่คือคุณไพรัช สังวริบุตร คุณตาเนี่ยเขาต้องการให้ปรับเปลี่ยนให้เข้ายุคเข้าสมัย คือจะให้นุ่งโจงกระเบน สวมชฎาก็จะสมควรมั้ยเวลาไปรบ เพราะถ้าละครจักรๆ วงศ์ๆ บทประพันธ์จะคงที่ แต่วิวัฒนาการทางสังคมมันเปลี่ยนไป เราก็เลยเอามาทำให้ร่วมยุคร่วมสมัยมากขึ้น"
       
       "อย่างมีการเอาเทคโนโลยีมาใส่ด้วย หรือมีการสร้างไอดอลคล้ายกับของตะวันตก อย่างเกราะกายสิทธิ์ ก็จะมีท้าวเวสสุวัธ ก็จะคล้ายกับเทพซีอุส ที่เป็นคล้ายๆ เทพแห่งเทือกเขา คือว่าอย่างเวลาผมอ่านละครจักรๆ วงศ์ๆ ของไทยกับทางตะวันตกมันมักจะคล้ายกัน อย่างเรื่องวงษ์สวรรค์ ก็จะไปคล้ายกับเรื่องเฮอร์คิวลิส เรื่องเทพศิลป์อินทรจักรก็จะคล้ายกับเรื่องรามเกียรติ์”
       
       ยืนยันของเดิมๆ น่าจะเหมาะสมที่สุด
       
       "โดยส่วนตัวผมก็ชอบอะไรที่เป็นแบบเดิมมากกว่า คือละครแบบเดิมมีเสน่ห์ในตัวของมันเอง ละครพวกนี้สามารถไปฉายได้ในอเมริกา ไม่รวมเพื่อนบ้านอย่างเขมร ไม่ใช่แค่สามเศียรนะครับ อย่างค่ายอาต้อย เศรษฐาก็ขายได้ในตะวันตก ทีนี้พอเรารับเอาแนวคิดตะวันตกเข้ามาเนี่ย มันเลยเหมือนออกแนวผสมผสาน ทางตะวันตกเขาก็ไม่ค่อยสนใจนะ เพราะว่ามันมีความเป็นไทยน้อย เพราะเราตามฝรั่งเขา เขาก็ไม่ดูในสิ่งที่เขามีแล้วถูกมั้ยครับ"
       
       “ทีนี้ถามว่าทำไมถึงไม่ย้อนไปทำแบบเดิม เพราะกลุ่มคนดูเดิมที่เป็นกลุ่มเด็กใช่มั้ยครับ เขาฉลาดขึ้นเนื้อเรื่องของละครพื้นบ้านพูดเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ซึ่งเด็กเขาก็ไม่พร้อมจะเชื่อแล้ว เพราะว่ามันจะออกแนวเวอร์ เกินจริงนะครับว่าง่ายๆ คือจริงๆ ละครพื้นบ้านเขาก็บอกแหละครับว่าทำไมต้องมีอภินิหาร ทำไมต้องใส่ชฎา ช่วงหลังเลยเปลี่ยนมาเหมือนชุดแบบนักรบกรีกหรือโรมันแทน”
       
       ในความคิดของใครหลายคนอาจจะรู้สึกว่าแฟนละครจักรๆ วงศ์ๆ ในปัจจุบันน่าจะมีเฉพาะเด็กและคนแก่ ทว่าเรื่องจริงก็คือกลุ่มคนที่ติดตามดูละครประเภทนี้ที่มีเยอะที่สุดก็คือวัยรุ่น
       
       “กลุ่มคน ถ้าคนสูงอายุต้องดูเป็นกิจวัตร แต่กลุ่มที่ดูมากสุดคือวัยรุ่นไงครับ ละครเลยแบบว่าเอาใจวัยรุ่น เด็กติดอยู่แล้ว เพราะมีอภินิหาร ส่วนวัยรุ่นก็จะมีเน้นหน้าตาบ้าง ทรงผมเลยออกมาแนวเอาใจไงครับ”
       
       “พูดไปเหมือนเวอร์นะ แต่คนดูละครจักร์ๆ วงศ์ๆ ทุกเพศทุกวัยจริงๆ เพราะว่ากลุ่มเด็กเนี่ย ดูอภินิหาร ดูเรื่องอำนาจเหนือวิสัย เมจิกต่างๆ เดี๋ยวมีมังกร มีสัตว์ประหลาด ออกมา ทีนี้พอมาถึงกลุ่มของวัยรุ่นเนี่ย เขาจะมาในแนวแฟนคลับแล้วล่ะครับ พระนางเป็นใคร มีบอร์ดของคนรักนักแสดงที่เล่นจักรๆวงศ์ๆเลยนะ คนรักโฟน (พระปิ่นทอง) น้องแยม รุ้งรดา เบญจาธิกุล ก็มีแฟนคลับ มีกลุ่มแฟนคลับเหนียวแน่นนะ จัดเจอกันประจำ อย่างกลุ่มผู้ใหญ่เนี่ยก็ดูนะละครจักรๆ วงศ์ๆน่ะ คือมีความประทับใจในวัยเด็ก ก็ดูในแง่ของความเปลี่ยนไปมั่ง แต่กลุ่มผู้ใหญ่จะดูน้อยสุด ถัดไปจะเป็นกลุ่มผู้สูงวัยเลยที่ดู”
       
       “ผมเคยอ่านวิทยานิพนธ์ เขาก็เขียนว่ากลุ่มคนดูเนี่ยกลุ่มคนทำงาน บางคนที่ทำงานวันเสาร์ จะมาดูวันอาทิตย์วันเดียวก็ไม่ติดน่ะครับ อีกกลุ่มหนึ่งคือผู้สูงอายุ ก็ดูกับลูกกับหลานแล้วสั่งสอน หลักธรรม หลักศีลธรรมที่สอดแทรกอยู่ อย่างเรื่องปลาบู่ทองจะมีที่มาจากชาดกต่างๆ มาจากเรื่องสุวรรณกัสปะชาดก แต่ก่อนไม่ใช่ปลาบู่แต่เป็นเต่า ชื่อเดิมคือ เต่าน้อยกระดองทองมาจากวรรณกรรมชาดกของภาคเหนือ แล้วอย่างเรื่องสังข์ทองก็มาจากสุวรรณสังข์ชาดก ทีนี้ก็คือว่านำมาเล่าใหม่ กลุ่มของผู้สูงอายุเขาจะดูก็มาในแง่ของศีลธรรม ละครจักรๆวงศ์ๆไม่ใช่เฉพาะกลุ่มหรอกครับ มันก็มีคนดูเยอะอยู่”
       
       “ทุกคนมีความทรงจำกับละครจักรๆวงศ์ๆเท่ากันทุกคนนะผมว่า ได้ดูแหละแต่อาจจะไม่ติด หน้าที่การงานทำให้เราห่างไปบ้าง”
       
       ด้าน "หนำเลี๊ยบ" ผู้กำกับเองก็ยืนยันถึงเรื่องนี้ว่า...“ผมว่ามีคนดูเยอะนะ เวลาไปไหนนี่คนมาทักเยอะ เพราะเราไปทุกที่ ก็มีทั้งติทั้งชม เจอหน้าก็มุ่งมาคุยเรื่องนั้นเรื่องนี้ในเรื่องเลย”
       .......................
       

       อนาคตฮีโร่ไทย
       ว่ากันถึงคุณสมบัติที่พร้อมสรรพของตัวพระเอกในละครจักรๆ วงศ์ๆ ทั้งคาถาอาคม อภินิหาร เครื่องมือวิเศษ ถือว่าเพียบพร้อมอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์ความสนุกที่หาใช่เฉพาะในความเป็นละครแต่อย่างใด ทว่าเรื่องจริงก็คือเรากลับไม่เห็นพระเอกไทยๆ เช่นนี้กลายเป็นฮีโร่ในรูปแบบอื่นๆ เลย
       
       "ถ้าทำเป็นเกมผมว่ามันยากนะ..." "หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์" ที่ดึงเอาบุคลิกตัวละครไทยๆ มาใ ส่ไว้ในเกมอย่างต้มยำกุ้ง, ก้านกล้วยฯ
       
       “ที่ผมเลือกจา พนม เนื่องจากว่า หนึ่ง ผมทึ่งกับความสามารถของเขา ที่เขาสามารถถ่ายทอดมวยไทยออกมาได้ในรูปแบบที่เป็นแอ็กชั่นสไตล์ จา พนมสามารถเอามวยไทยมาทำเป็นหนังแอ็กชั่นได้ดี ตัวผมก็เลยปิ๊งขึ้นมา..."
       
       "ผมมีผลงานสองอันก็คือเกมต้มยำกุ้ง กับเกมก้านกล้วย ตัวที่สองที่ผมทำคือก้านกล้วยเพราะผมมองว่า เป็นการ์ตูนที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวสมัยพระนเรศวรได้ดีมาก แล้วมีตัวละครเป็นช้างซึ่งมีความน่ารัก แล้วก็ผสมผสานความเป็นไทยพื้นบ้านเข้าไป"
       
       "ทีนี้ถามว่าจะดึงละครประเภทระเด่นลันได ปลาบู่ทอง อย่างนี้มาทำเป็นเกมไหม สำหรับผม ผมไม่มองพาร์ตนั้น เพราะว่าการทำเกมนี่มันใช้เวลามาก เกมหนึ่งเกมนี่ขั้นต่ำคือหกเดือน ขั้นสูงเป็นหลายปีนะครับ เพราฉะนั้นเวลาเราทำโปรดักชันนะครับ เราต้องทำโปรโมตควบคู่กับหนัง มันถึงจะคุ้ม"
       
       "ถ้าพูดตรงๆ คือมันจะใช้วิธีการ คือต้องพ่วงกันไป แต่โดยหลักแล้วเนี่ย ผมยังทำอะไรที่มันเป็นไทยอยู่แน่นอน เพราะว่าผมก็เป็นคนคลั่งชาติคนหนึ่ง แต่ผมจะใช้ความเป็นไทยที่ผ่านสื่อหนังน่ะครับ ถ้าหยิบเอาเรื่องในวรรณคดีมาทำเนี่ย ผมยังไม่มอง ยกเว้นว่าจะมีหนังที่ดึงวรรณคดีมาทำ แล้วทำได้ดีมาก”
       
       “คือเราพูดกันบ่อยว่า ของไทยนี่มีเรื่องสนุกๆ เยอะ แต่มันขาดการนำเสนอแล้วปรุงแต่ง ในโปรดักชันที่ดี อย่างพระอภัยมณีเนี่ย ถ้าพูดเป็นภาษาบ้านๆ คือสนุกโคตรๆ แต่ก็ยังไม่มีโปรดักชันที่ทำพระอภัยมณีได้ดี ในมุมของหนังนะครับ ที่ทำออกมาแล้ว มันสนุกโคตรๆ เหมือนกับจินตนาการเวลาคนอ่าน"
       
       ว่าไปแล้วการเหลือผู้จัดเพียงเจ้าเดียวก็ดูเหมือนจะมีส่วนเช่นกันที่ทำให้วิวัฒนาการของละครจักรๆ วงศ์ๆ เดินไปอย่างไม่กระตือรือร้นสักเท่าไหร่
       
       “ถามว่าทำไมผู้ผลิตถึงไม่นิยมสร้าง อันนี้..ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไม..(หัวเราะ) "..."สยม" แสดงความคิดเห็น..."แต่จริงๆ แล้วทุกคนมีศักยภาพในการทำทุกคนน่ะฝีมือไม่แพ้กันหรอก แต่อย่างหนึ่งที่ทางเรารู้สึกว่ามีความชำนาญเพราะว่าเราทำมาเป็น 10 กว่าปีแล้วก็อาจจะได้ผลด้านนี้มากกว่า แต่ผมเชื่อว่าทุกคนทำได้ และทำได้ดีด้วย”
       
       ขณะที่ "กอล์ฟ" บอกว่า...“การลงทุนหรือการลงแรงผมเคยอ่านในบทสัมภาษณ์ของคุณอาไพรัชว่า เรื่องกำไรไม่ต้องพูดถึงเลย มันยากมาก..คือได้บ้าง แต่ได้น้อย แล้วอีกอย่างก็เรื่องบุคลากร ตอนนี้ละครจักรๆ วงศ์ๆ มีแค่ 2 กลุ่มสำหรับคนเขียนบท คือคุณฐิติเมธ และพิกุลแก้ว ขาดแคลนเรื่องการเขียนบท จะเขียนอย่างไรให้คนเชื่อในละครจักรๆ วงศ์ๆ อันนี้ยากนะครับ ยุคสมัยนี้คนไม่พร้อมจะเชื่ออภินิหาร”
       
       *************
       ทีมข่าวบันเทิง
   
   
 
 
 
ความเห็นที่ 1[ 129]
  <object width="425" height="355"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/pCQnLQQeNA4&hl=en"></param><param name="wmode" value="transparent"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/pCQnLQQeNA4&hl=en" type="application/x-shockwave-flash" wmode="transparent" width="425" height="355"></embed></object>
 

[ 2008-04-29 17:45:16 ]
   
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.