ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 3.92.96.247 : 28-03-24 20:11:23   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

เปิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ล่าตัวป่วนโลกไซเบอร์  

 
เปิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ล่าตัวป่วนโลกไซเบอร์
 
 
แล้ววันที่โลกไซเบอร์ (ไทย) ต้องหันมาจัดเก็บกวาดบ้านที่รกรุงรังเต็มไปด้วยขยะให้สะอาดเอี่ยมเรียบร้อย และเป็นระเบียบ ก็เดินทางมาถึง

เป็นครั้งแรกของวงการอินเทอร์เน็ตที่จะมี "กฎหมาย" ไว้บังคับใช้เมื่อเกิดเหตุอันไม่ชอบมาพากลขึ้น หลังจากที่อินเทอร์เน็ตเป็นเสมือน "แดนสนธยา" จนเป็นเรื่อง "ยาก" หากจะต้องเอาผิดกับผู้ที่ก่ออาชญากรรมขึ้นบนสถานที่แห่งนี้

กระนั้นก็ตาม แม้จะมีหลายภาคส่วนที่ดูเหมือนจะ "ขานรับ" กับกฎหมายฉบับนี้ แต่ก็มีอีกหลายส่วน ที่ยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้จริง โดยเฉพาะการ "อ่อน" ประชาสัมพันธ์ ที่ดูเหมือนจะเป็นประเด็นให้พ.ร.บ.ฉบับนี้ถูกผู้ที่ต้องใช้งานเป็นประจำเข้าใจในแบบผิดๆ

 ล่าสุด เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้จริงๆ ก็มีเสียงเตือนด้วยความกังวลเช่นกันถึงความพร้อม และความเข้าใจของผู้ใช้กฎหมาย ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการในหลายๆ ด้าน ขณะที่ผู้กระทำผิด ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด คือผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เพราะถ้าไม่เก่งจริง ก็คงไม่สามารถหาช่องโหว่และทำผิดได้

 "สิทธิชัย โภไคยอุดม" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ผู้เสนอ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 บอกว่า กระทรวงไอซีทีได้เสนอกฎกระทรวงว่าด้วยการยึดและอายัดระบบคอมพิวเตอร์ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณา ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร และในสัปดาห์หน้าจะเสนอ กฎกระทรวงว่าด้วยคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติได้

 "เรื่องการออกกฎกระทรวง ไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงอะไร ตอนนี้ออกมา 1 เหลืออีก 1 ส่วนประกาศกระทรวงอยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เราจะเน้นที่ผู้กระทำผิดเป็นหลัก ไม่ต้องการโจมตีผู้ให้บริการ แต่สิ่งที่กำหนดเป็นหน้าที่ให้ทำ ถือเป็นการป้องกันผู้ให้บริการมากกว่า"

 ส่วนการเตรียมความพร้อมบุคลากรนั้น รมว.ไอซีที ยอมรับว่า บุคลากรของกระทรวงยังขาดอีกมาก ต้องมีการเปิดรับสมัครเพิ่มเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลต่อไป

 "ปรเมศวร์ มินศิริ" นายกสมาคมผู้ดูแลเวบไทย บอกว่า การมีกฎหมายที่ดูแลเรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ดีมาก และถูกต้องที่สุด แต่เมื่อพิจารณาถึงความพร้อม เห็นได้ชัดว่าประเทศไทย ทั้งหน่วยงานราชการ ผู้ให้บริการเอกชนและประชาชนผู้ใช้บริการ ยังไม่มีความพร้อม เพราะการเผยแพร่ให้ความรู้ในวงสาธารณะยังไม่มากเพียงพอ ขณะที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว

 ดังนั้น กระทรวงไอซีทีต้องมุ่งเป้าให้ตรงประเด็น เน้นการเอาผิดกับกลุ่มบุคคลที่ตั้งใจก่อความเสียหายให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะพวก "แฮคเกอร์" ที่จัดได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่เตรียมความพร้อมมากที่สุด มากกว่าจะมุ่งเป้ามาที่กลุ่มผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ที่อาจกระทำผิดโดยไม่รู้ตัว

 "ต้องยอมรับว่ามีเวลาเตรียมตัวน้อย จะมีปัญหาในทางปฏิบัติแน่นอน เพราะยังไม่มีความเข้าใจ เช่น การเก็บข้อมูลการจราจรทางอินเทอร์เน็ต และการเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ ที่ผู้ให้บริการต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่การขอหมายเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล" ปรเมศวร์เล่า

 อีกประเด็นคือ การออกกฎกระทรวง ที่ผ่านเข้าที่ประชุม ครม. เพียงแค่กฎเดียวเท่านั้น คือ การยึดและอายัดระบบคอมพิวเตอร์ เหลือการกำหนดคุณสมบัติเจ้าหน้าที่ ยังไม่ได้นำเข้าพิจารณา ทำให้ปัจจุบัน แม้จะมีการกระทำผิดจริง ก็ไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะยังไม่มีเจ้าหน้าที่มาดำเนินการ

 "ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ" พาร์ทเนอร์ บริษัทแมกนัส แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด และอาจารย์พิเศษ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า หลักการของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้ต้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่มุ่งอุดช่องโหว่การทำผิดทางเทคโนโลยีที่เดิมประมวลกฎหมายอาญาไม่สามารถเอาผิดได้

 "หลังพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลแล้ว การส่งต่อ หรือฟอร์เวิร์ดเมลภาพอนาจาร ภาพอนาจารดาราถูกตัดต่อหรือไม่ตัดต่อ จนถึงการส่งต่อลิงค์ยูอาร์แอลของเวบโป๊อนาจาร ก็เข้าข่ายกระทำผิดต่อพ.ร.บ.นี้ รวมถึงการส่งทางมือถือด้วย"

 ในส่วนผู้ให้บริการ หรือเซอร์วิส โพรไวเดอร์นั้น หากเครื่องแม่ข่ายหรือระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือกระทำผิด ผู้ให้บริการนั้นจะเข้าข่ายที่ต้องโทษด้วยหรือไม่อยู่ที่ "เจตนา" เป็นสำคัญ

 หนึ่งในกฎหมายลูกที่จะถูกนำมาบังคับใช้ร่วมกับ พ.ร.บ.นี้ คือ "การยึด อายัดเครื่องคอมพิวเตอร์" โดยหลักๆ จะเป็นแนวทางขั้นตอนการปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่จะสามารถยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ต้องสงสัย หรืออายัดเครื่องกรณีเป็นระบบขนาดใหญ่ เพื่อใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวนหรือพิสูจน์หลักฐานการทำผิด รวมไปถึงการเก็บข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ เน้นข้อมูลที่ "จำเป็น" เพื่อสืบค้นแกะรอยหาผู้กระทำผิด

 ประเด็นสำคัญที่มีการพูดถึงกันมาก คือ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ซึ่งเข้าใจว่า เจตนารมณ์ของประกาศฉบับนี้ ต้องการให้ ‘ผู้ให้บริการ’ เก็บรักษาข้อมูลของ ‘ผู้ใช้บริการ’ ในลํกษณะที่ผู้ให้บริการสามารถ ‘ระบุตัว’ ผู้ใช้บริการได้

 "ผู้ให้บริการ" จะต้องเก็บข้อมูลหลายอย่าง ตั้งแต่ ชื่อประจำตัว (Username) ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) หมายเลขที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (IP Address) กรณีเวบบอร์ดและเวบบล็อกนั้น ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลทั้ง ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการ

 เรื่องนี้ถือว่าเกี่ยวข้องและน่าจับตามากที่สุด โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการ คนทำเวบอิสระ คนเล่นเน็ต เพราะมาตรการบังคับให้กรอกรายละเอียดค่อนข้างละเอียด และภาครัฐก็ไม่ค่อยประชาสัมพันธ์เรื่องแบบนี้ไปสู่สาธารณชนวงกว้างมากนัก ทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มคิดกันว่า ...

 เป็นไปได้หรือไม่ว่า ข้อกำหนดแบบนี้ อาจไปกีดกันคนจำนวนหนึ่งทางอ้อมให้ตัดสินใจไม่ใช้อินเทอร์เน็ต เช่น คนที่ไม่เคยมีอีเมล หรือคนที่ไม่อยากให้ข้อมูลส่วนตัว และอาจจะทำให้รู้สึกว่าการบังคับกรอกรายละเอียด เป็นเรื่องรุกล้ำข้อมูลส่วนบุคคลมากจนเกินไป

 แน่นอนว่า กระทรวงไอซีทีอาจตั้งธงไว้แล้วว่าต้องการจับ ‘ผู้ร้าย’ ให้สะดวก โดยออกกฎหมายให้ผู้ให้บริการประเภทต่างๆ มาให้ความร่วมมือ แต่หากไอซีทีมีความเข้าใจพื้นฐานของธรรมชาติในโลกอินเทอร์เน็ตด้วย ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย

 การกำหนดกรอบให้แน่ชัดลงไปว่าข้อมูลแค่ไหนที่อยากรู้ น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประเภท ยูสเซอร์ ไอดี, ไอพี แอดเดรส, ชื่อสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, วันที่เวลาการเข้าออกของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

 สิ่งสำคัญที่สุด คือ "ไอซีที" และผู้เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้  ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของโลกอินเทอร์เน็ตให้ถ่องแท้ด้วยว่า "คนที่เล่นอินเทอร์เน็ตจะยอมบอกตัวตนของตัวเองบนสถานที่แห่งนี้ได้มากน้อยแค่ไหน"

   
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.