ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ 18.117.196.184 : 25-04-24 8:10:32   
หน้าแรก siam-shop.com ค้นหาร้านค้าสมาชิก
ชื่อสินค้า  
    หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
จตุคาม
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถ รถตู้ให้เช่า
รถยนต์ ประดับยนต์
ล้อแม็กรถยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องดนตรี กีตาร์ กลอง
เครื่องดนตรี คีย์บอร์ด เปียนโน
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
โชว์ การแสดง
โต๊ะ เก้าอี้
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

  สปอนเซอร์ของเรา
   
   
   

ท่องเที่ยวลาว ค้นหา หลวงพระบาง เมืองมรดกโลก   

 
ท่องเที่ยวลาว ค้นหา หลวงพระบาง เมืองมรดกโลก
 

เมืองหลวงพระบาง (ลาว: ເມືອງຫຼວງພະບາງ, ເມືອງຫລວງພະບາງ; สามารถเขียนได้ทั้งสองแบบ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้วย

หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าเมืองซวา (ออกเสียงว่า ซัว) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอ ซึ่งถือเป็น ปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเชียงทอง
เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916) เสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเสียมเรียบ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรขึ้น ต่อมาในสมัยพระโพธิสารราชเจ้าพระองค์ได้อาราธนาพระบางซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำ ขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นมา
หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม
ซึ่งตรงกับเกณฑ์พิจารณาของยูเนสโกดังนี้
• (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
• (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
• (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา
ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียง

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง

วัดเชียงทอง

วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย

พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นในปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่งเรียกกันว่า "วิหารแดง" ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใดด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อนกลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964

พระอุโบสถ ภาษาลาวเรียกว่า สิม เป็นพระอุโบสถหลังไม่ใหญ่โตมากนักหลังคาพระอุโบสถมีหลังคาแอ่นโค้ง ลาดต่ำลงมาซ้อนกันอยู่สามชั้น กล่าวกันว่านี่คือศิลปะแห่งหลวงพระบาง ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทองชาวลาวเรียกว่าช่อฟ้า ประกอบด้วย 17 ช่อเป็นข้อสังเกตุว่าวัดที่พระมหากษัตริย์สร้าง จะมีช่อฟ้า 17 ช่อ ส่วนคนสามัญสร้างจะมีช่อฟ้า 1- 7 ช่อเท่านั้น เชื่อว่าบริเวณช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆตรงกลางช่อฟ้าจะมีของมีค่าบรรจุอยู่ ส่วนที่ประดับที่ยอดหน้าบันชาวลาวเรียกว่าโหง่ มีรูปร่างเป็นเศียรนาคและมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสนาพุทธ ประตูพระอุโบสถแกะสลักสวยงามเช่นเดียวกับหน้าต่างภายในพระอุโบสถมีภาพสวยงามที่ผนัง มีลักษณะลวดลายปิดทองฉลุบนพื้นรักสีดำ ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติเรื่องพระสุธน – มโนราห์ และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ

• พระประธาน หรือชาวลาวเรียกว่าพระองค์หลวง ภายในพระอุโบสถเป็นสีทองงดงามอร่ามตาด้านข้างพระองค์หลวงมีพระบางจำลอง และผนังด้านหลังของพระอุโบสถเป็นภาพที่เกิดจากการใช้กระจกสีตัด ติดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีในเมืองหลวงพระบางลักษณะคล้ายต้นโพธิ์ ด้านข้างต้นทองเป็นรูปสัตว์ในวรรคดียามใดที่แสงแดดสดส่องสะท้อนดูงดงาม

• วิหารน้อย ด้านข้างและด้านหลังของพระอุโบสถเป็นที่ตั้งของวิหารสองหลังนี้ จุดเด่นของวิหารนี้คือผนังด้านนอกมีการตกแต่งด้วยกระจกสี ตัดเป็นชิ้นเล็กๆและนำมาต่อเป็นรูปต่างๆเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน บนพื้นสีชมพู ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปนี้เคยถูกนำไปจักแสดงที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2474 และนำไปประดิษฐานที่นครเวียงจันทน์หลายสิบปี ก่อนจะนำมายังหลวงพระบางในปี พ.ศ.2507

• ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถคือ วิหารพระม่าน ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพูประดับด้วยกระจกสีแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล
• ด้านหลังของวิหารพระม่านจะเป็นพระธาตุศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้ามหาศรีสว่างวงศ์และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโขงเรือใกล้กับริมแม่น้ำโขง ส่วนด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่ตั้งหอกลองมีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม

• โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ลักษณะเป็นโถงกว้าง ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้นสามารถถอดออกได้เพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้
กลางโรงเมี้ยนโกศเป็นที่ตั้งราชรถไม้แกะสลักปิดทองคำเปลวรอบคัน มีพระโกศสามองค์ตรงกลางเป็นองค์ใหญ่ของเจ้าสว่างศรีวัฒนา ด้านหลังเป็นของพระราชมารดา ส่วนด้านหน้าเป็นของพระเจ้าอา โรงเก็บราชรถนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ และใช้ช่างชาวหลวงพระบางชื่อ เพียตัน นับว่าเป็นช่างฝีมือดีประจำพระองค์ มีความชำนาญทั้งด้านงานเขียนและงานแกะสลัก

• จุดเด่นของโรงเมี้ยนโกศยังอยู่ที่ประตูด้านนอกคือเป็นภาพแกะสลักวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ตอนสำคัญๆ เช่น ตอนพิเภกกำลังบอกความลับที่ซ่อนหัวใจของทศกัณฑ์ให้กับพระราม ถัดลงมาเป็นตอนที่ทศกัณฑ์ต้องศรของพระรามเสียบเข้าที่หัวใจ ถัดลงมาเป็นตอนที่พระรามพระลักษณ์ต่อสู้กับทศกัณฑ์ ด้านล่างสุดเป็นตอนที่นางสีดาลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์กับพระราม เดิมที่ภาพแกะสลักเหล่านี้เป็นการลงรักปิดทอง ต่อมาได้มีการบูรณะใหม่โดยทาสีทอง ภายในวัดยังมีเขตสังฆาวาสและยังมีพระจำพรรษาอยู่เช่นวัดทั่วไป

พระธาตุพูสี

"ไปเที่ยวหลวงพระบางแล้ว ไม่ได้ขึ้นพระํธาตุพูสีถือว่า ไปไม่ถึงหลวงพระบางครับ"
พูสีี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดภูษีทำให้เห็นเมืองหลวงพระบางได้โดยรอบ และเห็นสายน้ำโขง มีบันไดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตรงข้ามพระราชวัง 328 ขั้น ตลอดทางขึ้นร่มรื่นไปด้วยต้นจำปา (ดอกไม้ประจำชาติลาว) หรือที่บ้านเราเรียกว่าต้นลั่นทม 


• พูสี มีความหมายว่า ภูเขาของพระฤาษี เดิมชื่อว่า ภูสรวง ครั้นเมื่อมีฤาษีไปอาศัยอยู่ชาวบ้านจึงเรียกว่าภูฤาษี หรือภูษีมาจนถึงปัจจุบัน แต่ยังมีนักโบราณคดีบางคนเชื่อว่าภูษี อาจหมายถึง พูสีึซึ่งเป็นศรีของเมืองหลวงพระบาง


• พระธาตุพูสีี สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอนุรุท ประมาณพุทธศักราช 2337 พระธาตุนี้ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดของพูสีี บนความสูง 150 เมตรพระธาตุนี้มองเห็นได้แต่ไกลแทบจะทุกมุมเมืองของหลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริดเจ็ดชั้น สูงประมาณ 21 เมตร

ช่วงที่พระธาตุนี้งดงามที่สุดคือช่วงตอนบ่ายแก่ๆแสงแดดจะกระทบองค์พระธาตุเป็นสีทองสุก รอบๆพระธาตุจะมีทางเดินให้ชมวิวทิวทัศน์ของเมืองหลวงพระบาง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมองเห็นสนามบิน ส่วนด้านทิศตะวันตกจะมองเห็นแม่น้ำโขง ช่วงที่คดเคี้ยวเข้าหากันในกลีบเขาและจากยอดภูสียังมองเห็นพระราชวังเดิมที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง

พระธาตุจอมษีมิได้เป็นสิ่งก่อสร้างแห่งเดียวบนยอดภูษี ยังมีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาอีกหลายแห่งเช่น วัดถ้ำพูสี วัดป่าแค วัดศรีพุทธบาท วัดป่ารวก
สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ(พระราชวังหลวง)
ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ลักษณะอาคารเป็นชั้นเดี่ยวยกพื้นสูง สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส แต่เป็นการผสมผสานระหว่างฝรั่งเศสและลาว ด้านนอกอาคารเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์

   ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2518 พระราชวังหลวงพระบางได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์

ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น

ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์ รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหลเมื่อราวศตวรรษ ที่ 1

 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยามถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลักอีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมายและงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร

ห้องเด่นๆหลายห้องอยู่ฝั่งขวาของอาคาร เช่น

• ห้องฟังธรรม ภายในมีธรรมมาสน์ ห้องปูพรมและเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิติศรีสว่างวงศ์ในเวลาฟังธรรม

• ห้องรับแขกของพระมเหสี ภายในห้องจัดแสดงของขวัญจากประเทศต่างๆ

• ห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต ภายในห้องสวยงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาว ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพงานประเพณี และยังมีรูปหล่อครึ่งองค์ของเจ้ามหาชีวิตอุ่นคำ เจ้ามหาชีวิตสักรินทร์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งทั้งหมดนี้หล่อมาจากประเทศฝรั่งเศษ

• ห้องท้องพระโรง ห้องนี้ใช้ทำพีธีราชาภิเษก ซึ่งเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมห้องนี้ไว้ทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงปกครองเสียก่อน ภายในห้องติดประดับด้วยกระจกโมเสดสีแดงจากประเทศฝรั่งเศส

    นอกจากห้องสำคัญเหล่านี้แล้วด้านหลังของท้องพระโรงยังเป็นที่ตั้งของตำหนักของเจ้ามหาชีวิต อีกจุดที่เด่นของพระราชวังคือ

• หอพระบาง ภายในหอพระนี้เองเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พุทธลักษณะของพระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนปางประทานอภัย ทั้งสองพระหัตถ์ หรือปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยขอมหลังบายน มีน้ำหนักประมาณ 54 กิโลกรัม ประกอบด้วยทองคำ 90 เปอร์เซ็นต์ และในหอพระนี้ยังมีพระพุทธนาคปรก สลักศิลาอีกสี่องค์และยังมีกลองโบราณอยู่ด้วย

ถ้ำติ่ง

ถ้ำติ่งประกอบไปด้วย 2 ถ้ำ แยกขวาไปถ้ำติ่งลุ่ม (ล่าง) แยกซ้ายไปถ้ำติ่งเทิง (บน)
ถ้ำติ่งลุ่ม หรือถ้ำติ่งล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นๆ มีหินงอกหินย้อยเล็กน้อย เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากหลายขนาด

ส่วนใหญ่จะเป็นพระยืน มีทั้งปางประทานพร และปางห้ามญาติ
ความสำคัญของถ้ำติ่งในสมัยโบราณเป็นที่สักการะบ่วงสรวงดวงวิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน เทวดาผาติ่ง
    

ถ้ำติ่งในวันนี้ยังแสดงถึงยุคแห่งการปฏิวัติความเชื่อของชาวลาวในอดีตที่เคยนับถือผี พระเจ้าโพธิสารราชทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้ามา และทรงใช้ถ่ำติ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาและมีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18-19 กว่า 2,500 องค์ ส่วนใหญ่ทำขึ้นจากไม้ เมื่อตอนค้นพบใหม่มีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งที่ทำด้วยเงินและทองคำ แต่ถูกลอกออกไปหมด
    

นับแต่นั้นมาถ้ำติ่งจึงเป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ เจ้ามหาชีวิตแห่งหลวงพระบาง ต้องไปสักการะบูชาพระพุทธรูปในถ้ำ โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ลาว ทั้งเจ้ามหาชีวิต ข้าราชบริพาร พระสงฆ์ ประชาชนทั่วไปจะเดินทางไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่ถ้ำติ่งบนและถ้ำติ่งล่าง จากนั้นจึงไปไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัดปากอู ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับถ้ำติ่ง

น้ำตกตาดกวงสี

เป็นน้ำตกหินปูน สูงราว 70 เมตรมีสองชั้น สภาพป่าร่มรื่น มีสะพานและเส้นทางเดินชมรอบๆน้ำตกและสามารถเลาะข้างน้ำตกไปชมน้ำตกชั้นบนสามมารถเล่นน้ำบริเวณลำธารได้ นอกจากจะชื่นชมความงามของน้ำตกแล้ว ยังหาซื้อของที่ระลึกที่ทางเข้าน้ำตก ซึ่งเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ทำจากไม่ไผ่เป็นของใช้หลายชนิด และมีร้านอาหารตามสั่งให้บริการอยู่หลายร้าน น้ำตกกวางชีมีน้ำตลอดปี ในฤดูร้อนน้ำจะน้อย

บ้านซ่างไห

"หมู่บ้านริมแม่น้ำโขงซึ่งมีอาชีพในการต้มเหล้าขาย"
บ้านซ่างไห อยู่ริมแม่น้ำโขงก่อนถึงบ้านปากอู 5 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับถ้ำติ่ง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงเรื่องการต้มเหล้าขาว แทบทุกหลังคาเรือนจะมีการต้มเหล้า ซึ่งสามารถชมกรรมวิธีในการต้มเหล้า และเลือกซื้อเป็นของฝากกันได้ นอกจากจะมีเหล้าต้มแล้วยังมีการทอผ้า เครื่องเงินและของที่ระลึกวางจำหน่ายไว้ด้วย

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก พระบางเคย ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม

ตักบาตรข้าวเหนียว

ตักบาตรข้าวเหนียวหลวงพระบาง ทุกๆวันและทุกๆเช้า วิถีชีวิตของชาวหลวงพระบางคือการได้ทำบุญตักบาตรยามเช้าซึ่งจะมีพระ สามเณรนับร้อยรูป การตักบาตรของที่หลวงพระบาง ชาวบ้านจะใช้ข้าวเหนียวอย่างเดียว ส่วนกับข้าวชาวบ้านจะเอาไปถวายพระที่วัด

   
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
© Copyright 2007 SIAM-SHOP.COM All Rights Reserved.